ในบทความ No Business No Life ครั้งที่ 7 นี้ จะกล่าวถึงการประหยัดพลังงาน ที่กำลังมาแรงอย่างมากในประเทศไทย โดยเราได้รับเกียรติจากคุณ Takada Shigeki จาก บริษัท Anest Iwata South East Asia มาร่วมพูดคุยกันในครั้งนี้
คุณ Nakamura:ตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา มีลูกค้าชาวไทยสอบถามเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงทำให้ผมได้รับฟังเรื่องราวของบริษัทที่ไม่เคยกระตือรือร้นในเรื่องของการประหยัดพลังงานแต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นบริษัทที่จัดตั้งงบประมาณเพื่อการประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสำหรับประหยัดพลังงาน ไอเดียด้านการประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้สาเหตุมาจากอะไรกันครับ ?
คุณ Takada:ปัจจุบันนี้ ไม่เพียงแต่แนวคิดด้านการประหยัดพลังงานและการมีส่วนด้านสิ่งแวดล้อมผ่านความพยายามช่วยเหลือของบริษัทต่างๆ เท่านั้น แต่ผมคิดว่าเทรนด์เหล่านี้จะเริ่มมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การดำเนินกิจกรรมความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดและข้อบังคับเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น EU taxonomy เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทรนด์การประหยัดพลังงานนี้เริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้น ในอนาคตบริษัทที่มีการซื้อ – ขาย ในตลาดหลักทรัพย์อาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้นหากพวกเขาไม่จัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
คุณ Nakamura:กิจกรรมการประหยัดพลังงานของบริษัทถือเป็นความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือไม่ครับ
คุณ Takada:ก่อนอื่นบริษัทต่างๆจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดให้มากที่สุดและสำหรับส่วนที่ไม่มีทางเลือกจนต้องปล่อยออกไปนั้น ก็จำเป็นต้องลดยอดรวมให้เป็นศูนย์ในการซื้อขายการปล่อยมลพิษ ซึ่งหากเราไม่ส่งเสริมการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังในตอนนี้ ค่าใช้จ่ายในการทำให้การปล่อยก๊าซกลายเป็นศูนย์จะมีจำนวนมหาศาล
*1 ความเป็นกลางทางคาร์บอน: การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์
*2 EU Taxonomy: ชื่อของข้อบังคับ EU 2020/852 ที่ประกาศใช้ในสหภาพยุโรปในเดือนกรกฎาคมปี 2563 เป็นข้อบังคับสำหรับการลงทุนอย่างยั่งยืนในสหภาพยุโรปและมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "มาตรฐานสำหรับการตัดสินว่ากิจกรรมของคณะกรรมการทางเศรษฐกิจมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่"
คุณ Nakamura:ผมเข้าใจดีว่า การจัดการด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นทำได้ยาก ซึ่งในส่วนของบริษัท Anest Iwata ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์นั้น มีการจัดการอย่างไรบ้างครับ
คุณ Takada:ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากแนะนำให้กับโรงงานทุกแห่งคือ การใช้แรงดันต่ำที่จะช่วยลดแรงดันที่ตั้งค่าไว้ของคอมเพรสเซอร์ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เท่ากับศูนย์และสามารถประหยัดพลังงานได้มาก
คุณ Nakamura:ผมคิดว่าคงมีหลายบริษัทกำลังลังเลที่จะลดแรงดันของคอมเพรสเซอร์ เพราะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตอันเนื่องมาจากแรงดันอากาศไม่เพียงพอในโรงงาน ในส่วนนี้ควรจะทำอย่างไรครับ
คุณ Takada:ในขั้นตอนแรกต้องแน่ใจว่าเราสามารถเห็นภาพรวมของแรงดันภายในโรงงาน ซึ่งจากประสบการณ์ของผมนั้น จำได้ว่าจะต้องใช้แรงดันสูงประมาณ 10-20% ของโรงงานทั้งหมด ดังนั้นหากติดตั้งเครื่องเพิ่มแรงดันโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดแรงดันขาดก็จะสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานในขณะที่ลดแรงดันลงได้
คุณ Nakamura:พอจะมีเคล็ดลับในการติดตั้งเครื่อเพิ่มแรงดันหรือไอเดียเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าด้านต้นทุนบ้างหรือไม่ครับ
คุณ Takada:เครื่องเพิ่มแรงดันมี 2 ประเภทคือ "ขับเคลื่อนด้วยอากาศ" และ "ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า" ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ต้องเลือกประเภทที่เหมาะสมกับปริมาณอากาศที่ใช้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเภทขับเคลื่อนด้วยอากาศใช้อากาศ จึงอาจลดประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานจากการลดแรงดันได้อย่างมาก
คุณ Nakamura:ช่วยยกตัวอย่างให้กับผู้ที่ต้องการประหยัดพลังงานในอนาคตหลังจากนี้ได้ไหมครับ
คุณ Takada:ในบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้ที่รับผิดชอบด้านประหยัดพลังงานได้รายงานต่อหัวหน้าว่า คาดว่าจะสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 100,000 บาทต่อปี แต่กลับถูกหัวหน้าตอบกลับมาว่า "ถ้าเงินประมาณ 100,000 บาท คงไม่มีประสิทธิผลอะไรที่ใหญ่มากนัก" แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปลงเป็นยอดขายแล้วจะเท่ากับ 1 ล้านบาท เขาจึงโน้มน้าวหัวหน้าของเขาว่า “ทุกวันนี้การเพิ่มเพิ่มยอดขาย 1 ล้านบาทเป็นเรื่องยาก” ด้วยการเปลี่ยนมุมมองลักษณะนี้จึงทำให้แนวคิดเรื่องการประหยัดพลังงานต่างๆ เกิดขึ้นครับ
Office
Tel: +66(0)2-1361353~4
Parin Kimnarak (Peung)
Mobile: +66(0)95-950-5538
Email: peung@yn2.co.th