คุณมีความเข้าใจเรื่อง ‘ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง’ ถูกต้องหรือไม่? มาเรียนรู้เรื่อง Geometric Dimensioning and Tolerance (GD&T) พื้นฐานการวัดที่ควรรู้กัน
29/10/2024
Accretech (Thailand) Co., Ltd.のアバター画像
Accretech (Thailand) Co., Ltd.

การทำความเข้าใจพิกัดค่าความเผื่อของเรขาคณิตถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวัดที่แม่นยำ ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิต หมายถึง ช่วงของข้อผิดพลาดที่ยอมรับได้ เช่น ความสัมพันธ์ของรูปร่างและตำแหน่ง โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่รวมอยู่ในแบบงานเพื่อสื่อถึงวัตถุประสงค์ในการออกแบบที่ถูกต้อง ซึ่งความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิตแบ่งออกเป็น 15 สัญลักษณ์ด้วยกัน

โดยในบทความนี้ คุณ Hitomi วิศวกรฝ่ายขายและคุณทิพย์ ผู้จัดการฝ่ายขาย จาก ACCRETECH จะร่วมอธิบายเกี่ยวกับ "ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง" ซึ่งจัดอยู่ในประเภทค่าความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิต




คุณทิพย์เคยเห็นรูปภาพนี้ไหมครับ ?


อืม ฉันเคยเห็นสัญลักษณ์นี้มาก่อนค่ะ แต่มันค่อนข้างดูยากนะคะ


จากภาพวาดเราจะเห็นค่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งซึ่งเป็นเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิตที่มักใช้เมื่อรูและเพลาถูกประกอบเข้าด้วยกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือค่าตัวเลขที่บ่งบอกว่ามีจุดเบี่ยงเบนไปจากจุดอ้างอิงมากน้อยเพียงใด ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะมีการตั้งค่าพิกัดความเผื่อไว้สำหรับชิ้นส่วนเพื่อให้เพลาสามารถใส่เข้าไปในรูได้แม้ว่ารูและเพลาจะอยู่ในแนวที่ไม่ตรงกันเล็กน้อยก็ตาม

ภาพด้านบนมีทั้งหมด 2 ส่วน ภาพด้านซ้ายคือด้านตัวเมีย (รู) ด้านขวาคือด้านตัวผู้ (เพลา) จากนั้นให้ลองจินตนาการว่าทั้ง 2 ส่วนจะถูกนำมาใช้งานร่วมกัน หากสิ่งที่ระบุข้างต้นเป็นไปตามด้านบนเพลาและรูจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันพอดีโดยไม่มีปัญหา แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถสร้างตำแหน่งที่ตรงกันได้อาจจะต้องมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างเล็กน้อย หากเกิดกรณีเช่นนี้เราสามารถใช้ "ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง" ได้ตราบใดที่ตำแหน่งของแต่ละจุดยังอยู่คงเดิมก็จะไม่มีปัญหาอะไรแม้ว่าจะอยู่ในแนวที่ไม่ตรงกันก็ตาม กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วรูจะมีขนาดใหญ่และเพลาจะมีขนาดเล็ก


"ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง"
แสดงถึงความเบี่ยงเบนของจุด ลักษณะเชิงเส้นหรือระนาบจากตำแหน่งที่ถูกต้องตามทฤษฎี ซึ่งกำหนดให้มีความสัมพันธ์กับจุดอ้างอิงหรือคุณสมบัติอื่นๆ

นึกออกแล้วค่ะ! เป็นกรณีที่เคยได้รับคำปรึกษาจากลูกค้ามาเหมือนกันค่ะ


ครับ งั้นผมขอพูดถึงแนวคิดสำคัญในการพิจารณาตำแหน่งต่อเลยนะครับซึ่งเราจะต้องคำนึงถึง "สภาวะเนื้อวัสดุที่มากที่สุด" (Maximum Material Condition, MMC) นั่นคือ สถานะที่รูขนาดเล็กที่สุดและเพลาขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่ความเผื่อ ซึ่งในสภาวะเนื้อวัสดุที่มากที่สุดนี้มีบทบาทของการวางตำแหน่ง คือ การกำหนดพิกัดความเผื่อแม้ว่ารูจะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันก็ตาม


สำหรับตัวอย่างของแบบร่าง ระยะห่างจะเป็นไปตามด้านล่างนี้
*ตัวอักษรสีแดง คือ ในกรณีที่รูเล็กที่สุดและเพลาขนาดใหญ่ที่สุด (สภาวะเนื้อวัสดุที่มากที่สุด)
10.1 mm (Min Hole size) - 9.9 mm (Max Shaft size) = 0.2 mm
กล่าวคือ แม้ว่าแต่ละรูจะมีแนวไม่ตรงกัน 0.1 mm แต่ก็อยู่ในช่วงยอมรับได้และองศาของตำแหน่ง φ0.1 ที่แสดงในแบบร่างก็แสดงถึงช่วงค่าพิกัดความเผื่อนี้


จุดที่สำคัญมักถูกมองข้าม | ส่วนที่มีสภาวะเนื้อวัสดุที่มากที่สุด (MMC)

รู้ไหมครับว่าสัญลักษณ์ตัว M ในวงกลมหมายถึงอะไร ?


ฉันจำได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงความพิเศษบางอย่างใช่ไหมคะ



สัญลักษณ์ตัว M หมายถึง ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด หรือ MMC ตามชื่อที่กล่าวข้างต้น ซึ่งคำนี้หมายถึง ค่าเผื่อทางวิศวกรรมและสิ่งนี้ถือเป็นจุดที่มักถูกมองข้ามแม้จะมีผู้ที่เชี่ยวชาญคอยควบคุมก็ตาม


อย่างนี้นี่เอง



ในพิกัดค่าความเผื่อของแบบงานด้านบนมี M ในวงกลม ซึ่งในกรณีนี้ สมมติว่าขนาดรูจริงคือ 10.15 มม. เนื่องจากขนาดรูจริงใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของรูขั้นต่ำ (10.1 มม.) อยู่ 0.05 มม. Bonus Tolerance = |Actual Dai – Minimum Diameter(MMC)| จึงสามารถเพิ่ม 0.05 มม. ให้กับพิกัดความเผื่อของตำแหน่งได้ กล่าวคือ ความคลาดเคลื่อนที่ได้รับจะเท่ากับส่วนต่างระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของรูที่วัดได้จริงกับเส้นผ่านศูนย์กลางของรูขั้นต่ำ


วงกลม M มีบทบาสำคัญในการลดจำนวน NG โดยไม่ทำให้ฟังก์ชันการทำงานของผลิตภัณฑ์ลดลงด้วยการเพิ่มพิกัดความเผื่อให้กว้างขึ้นตามรูปร่างที่แท้จริง ซึ่งสิ่งนี้เป็นจุดที่เกี่ยวข้องกับงาน QAQC ที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา


หลักสูตรการวัดพื้นฐานที่จัดขึ้นสำหรับงานสัมนา

เราได้จัดสัมมนาในงาน Private Show ทุกปี โดยเนื้อหาในการสัมมนาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการวัดข้างต้น ซึ่งหลักสูตรนี้ไม่เพียงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการวัดเท่านั้นแต่ยังเหมาะสำหรับการทบทวนความเข้าใจแนวคิดการวัดแต่ละแบบด้วย จึงทำให้งานนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงานมากมายทุกปี

【ACCRETECH THAILAND & TOSEI THAILAND PRIVATE SHOW 2024】
วันและเวลา: 8 ตุลาคม (อังคาร) - 10 ตุลาคม (พฤหัสบดี) เวลา 9.00 - 16.30 น. (ทั้งหมด 3 วัน)
สถานที่: TOSEI THAILAND
ที่อยู่: นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/633 หมู่ 7 ดอนหัวฬ่อ เมืองชลบุรี ชลบุรี 20000

★ คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดกิจกรรม


งาน Private Show 2023 ของ ACCRETECH

การสัมมนานี้ได้รับความนิยมทุกปี เราจึงขอแนะนำให้ลงทะเบียนเข้าร่วมล่วงหน้าด้วยครับ!


ฉันเองก็ตั้งตารอการสัมมนาทุกปีเหมือนกันค่ะ! ถ้าเปิดจองแล้วจะแจ้งให้ลูกค้าทุกท่านทราบนะคะ



ACCRETECH (THAILAND) CO., LTD.
Shota Hitomi
Senior Sales Engineer Manager
METROLOGY DIVISION Sales Engineer Section


หากต้องการเครื่องวัดประเภทต่างๆ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวัด สามารถติดต่อเราได้ผ่านแบบฟอร์มด้านล่างนี้

ติดต่อเรา

กรุณาติดต่อเราในฟอร์มด้านล่าง
Loading...