บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน และมีเครื่องฉีดพลาสติกมากกว่า 90 เครื่อง และยังดำเนินธุรกิจมายาวนานเกือบ 50 ปีตั้งแต่ปี 2516 ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีโรงงานผลิตมากถึง 3 แห่ง ได้แก่
・โรงงานฉะเชิงเทรา ดำเนินการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์ และผลิตแม่พิมพ์สำหรับนำไปขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติก โดยสามารถผลิตแม่พิมพ์ได้มากถึง 100 แม่พิมพ์ต่อปี
・โรงงานสมุทรปราการ ดำเนินการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์เป็นหลัก
・โรงงานปราจีนบุรี ดำเนินการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ในบทความนี้เราได้รับเกียรติจากคุณโกเวท ลิ้มตระกูล ตำแหน่ง Managing Director และคุณถิรายุทธ มูสิกรักษ์ ตำแหน่ง Mold Manufacturing Manager จากบริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ปัญหาการผลิตแม่พิมพ์ ที่โรงงานในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงงานหลักที่ดำเนินการผลิตแม่พิมพ์
บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม มีนโยบายในการผลิตแม่พิมพ์ที่เน้นเรื่องคุณภาพและต้นทุนที่ถูกลง โดยคุณโกเวท MD ของบริษัทได้ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ คือ
1.ทักษะด้านวิศวกรรมและการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพได้
2.ใช้ความสามารถของเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างเต็มประสิทธิภาพ กล่าวคือ เราต้องไม่เสียเวลาในกระบวนการผลิต (Waste time) และไม่เกิดปํญหาซ้ำๆในการทำงาน
3.ซอฟต์แวร์ CAD/CAM ที่สามารถใช้งานร่วกับระบบการผลิตแม่พิมพ์ของบริษัทได้เป็นอย่างดี
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายข้างต้น ทำให้บริษัท ที.กรุงไทย อุตสาหกรรมได้หันมาแก้ปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์ เพื่อนำไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดเวลาและกระบวนการในการผลิตชิ้นงานลงได้ เช่น ลดเวลาในการขัดงาน (Polishing time) ตลอดจนชิ้นงานที่มีขนาดตามต้องการ โดยก่อนดำเนินการแก้ไข บริษัท ที.กรุงไทย
1.ผิวชิ้นงานไม่เรียบ มีรอย Cutter Mark
2.ใช้เวลาในการขัดชิ้นงานนาน (Polishing time) ต้องใช้กระบวนการขัดหลายขั้นตอน
3.Tool ที่ใช้ในการกัดชิ้นงานแม่พิมพ์ เกิดปัญหาแตกและสึกหรอง่าย โดยเฉพาะ Tool ที่เป็นเม็ด Insert ในกระบวนการกัดหยาบ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)ได้มองหาซอฟต์แวร์ CAD/CAM ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เราได้ทดลองใช้งานซอฟต์แวร์ CAD/CAM ต่างๆจากหลายแบรนด์ พบว่าซอฟต์แวร์ CAM-TOOL สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดีที่สุด และสามารถนำไปใช้งานและแก้ปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์ของบริษัทได้จริงตามที่ต้องการ
บริษัท CGS Asia ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดำเนินการร่วมกับบริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรมโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ มีรายละเอียดการแก้ไขปัญหา 3 ข้อข้างต้น ดังต่อไปนี้
ปัญหาที่ 1 ผิวชิ้นงานไม่เรียบ และมีรอย Cutter Mark
⇒ แก้ไขโดยใช้ฟังก์ชัน Aiming Check
เป็นฟังก์ชันที่ดำเนินการประมวลผลไปตามผนังของรูปร่างแม่พิมพ์ สามารถสร้างทางเดินของมีดกัด Cutter ที่มีลักษณะโค้งตามรูปร่างของผนังแม่พิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถปรับความแม่นยำได้อย่างละเอียดถึง 0.1 ไมครอน (0.1 micrometer) ทำให้สามารถแก้ปัญหาผิวชิ้นงานไม่เรียบและมีรอย Cutter Mark ได้
ปัญหาที่ 2 ใช้เวลาในการขัดชิ้นงานนาน (Polishing time) ต้องใช้กระบวนการขัดหลายขั้นตอน
⇒ แก้ไขปัญหาได้โดยใช้ฟังก์ชันของโปรแกรม CAM-TOOL ที่มี CAM Engine ที่เป็นลักษณะเฉพาะฟังก์ชันนี้มี 2 โหมด คือ
1.โหมด Polygon Engine สำหรับกัดชิ้นงานโดยทั่วไปที่ไม่ต้องการความละเอียด และต้องการความรวดเร็วในการกัดชิ้นงาน
2.โหมด Surface Engine สำหรับกัดชิ้นงานที่ต้องการความละเอียด
โดยผู้ใช้งานสามารถปรับระดับความละเอียดได้อย่างตามที่ต้องการ หลังจากที่กัดชิ้นงานเสร็จแล้วจะได้ผิวที่เรียบสวย โค้งตามรูปร่างชิ้นงาน ทำให้สามารถลดเวลาในการขัดงานได้อย่างมากถึง 20% เนื่องจากเราสามารถลดขั้นตอนการขัดงานลงได้
ปัญหาที่ 3 Tool ที่ใช้ในการกัดชิ้นงานแม่พิมพ์ เกิดปัญหาแตกและสึกหรอง่าย โดยเฉพาะ Tool ที่เป็นเม็ด Insert ในกระบวนการกัดหยาบ
⇒ แก้ไขโดยใช้ Tooling Database และสร้างข้อมูล Tool Insert
CAM-TOOL มี Tooling Database ที่มีข้อมูลและแคตาล็อกของ Tool และ Holder หลากหลายแบรนด์ที่สามารถโหลดมาเพื่อใช้งาน และสามารถสร้างเพิ่มเติมตามขนาดรูปทรงที่เหมือนจริงได้ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ใน Database จะรวมถึงขนาดของ Tool และHolder รวมถึงพารามิเตอร์ต่างๆที่ใช้ในการกัดชิ้นงาน ทำให้ผู้ปฎิบัตงานไม่จำเป็นต้องคีย์ข้อมูลใดๆเพิ่มเติม เพียงแค่ทำการดึงข้อมูล Tooling Database ในโปรแกรม ก็สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วและลดความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานได้
“บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) มีความตั้งใจในการพัฒนาการผลิตแม่พิมพ์ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง เราจึงได้นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งการมีซอฟต์แวร์ที่ดีนั้นจะส่งผลทำให้เกิดความแม่นยำในการทำงานมากยิ่งขึ้นและใช้เวลาในการทำงานน้อยลง สามารถตรวจจับข้อผิดพลาดที่มนุษย์มองไม่เห็นแต่ซอฟต์แวร์มองเห็นได้อย่างแม่นยำ
ในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณบริษัท CGS ASIA ที่เข้ามาช่วยพัฒนาการผลิตแม่พิมพ์ของเราให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกับมีต้นทุนที่ลดลงครับ”
(คุณโกเวท ลิ้มตระกูล ตำแหน่ง Managing Director บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
“อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เรามีปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์ซึ่งปัญหาเหล่านั้น เช่น ใช้เวลาในการขัดชิ้นงานนาน ผิวหน้าชิ้นงานไม่เรียบ ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในการขัดผิวและเวลาการทำงานที่มากขึ้น แต่เมื่อเราได้แก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกับบริษัท CGS Asia โดยใช้ฟังก์ชันต่างๆของ CAM-TOOL แล้ว ทำให้เราเกิดความสะดวกในการใช้งานโปรแกรม และสามารถทำงานได้เร็วขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ในเรื่องของผิวชิ้นงานก็สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมทั้งโหมด Polygon และโหมด Surface ซึ่งโหมด Surface นี้ก็สามารถทำงานให้จบในขั้นตอนเดียวโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการตัดชิ้นงานซ้ำ
นอกจากนี้ พนักงานของ CGS ยังดูแลและให้การสนับสนุนเราเป็นอย่างดี ให้การอบรมกับพนักงานของเราอย่างสม่ำเสมอ และหากมีปัญหาเกิดขึ้นก็เข้ามารองรับและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วครับ”
(คุณถิรายุทธ มูสิกรักษ์ ตำแหน่ง Mold Manufacturing Manager บริษัท ที.กรุงไทย อุตสาหกรรม)
ได้รับความร่วมมือจากบริษัท ที.กรุงไทย อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)