INDEX
หลักการของการทดสอบการรั่วไหล (Leak testing)หลักการตรวจสอบเปรียบเทียบแรงดัน โดยใช้เครื่องของ COSMOWAVE
สูตรการคำนวณอัตราการรั่ว และความสำคัญของปริมาตรในการทดสอบการรั่วไหล
อุณหภูมิที่มีผลต่อการทดสอบการรั่วไหล
หลักการตรวจสอบเปรียบเทียบแรงดันลม โดยใช้เครื่องของ COSMOWAVE
ในบทความนี้ขอกล่าวถึงหลักการตรวจสอบเปรียบเทียบแรงดันลม โดยใช้เครื่องของ COSMOWAVE
จากรูปด้านบน เป็นการเปรียบเทียบการวัดชิ้นงานที่เกิดการรั่วซึม (ด้านขวา) และชิ้นงานที่ไม่เกิดการรั่วซึม (ด้านซ้าย) ซึ่งในกรณีที่ไม่เกิดการรั่วซึม แรงดันลมที่เซ็นเซอร์อ่านได้จะอยู่ตรงกลาง ในทางกลับกัน หากเกิดการรั่วซึม เซ็นเซอร์จะถูกแรงดันลมในฝั่งมาสเตอร์ดันไปทางด้านที่เกิดการรั่ว
วิธีการทำงานของเครื่องวัดการรั่วไหล จาก COSMOWAVE
วิธีการทำงานของเครื่อง มีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การ Charge เป็นจังหวะที่เครื่องปล่อยแรงดันลมเข้าสู่ชิ้นงานขณะดำเนินการทดสอบ
ขั้นตอนที่ 2 การ Balance 1 เป็นขั้นตอนการปรับสมดุลของลมภายในชิ้นงานกับมาสเตอร์ให้หยุดนิ่ง
ขั้นตอนที่ 3 การ Balance 2 เป็นขั้นตอนการปรับสมดุลของลมให้หยุดนิ่ง พร้อมกับเช็กว่าเกิดการรั่วซึมหรือไม่ไปพร้อมๆกัน
ขั้นตอนที่ 4 การตรวจจับ หรือ Detection เป็นวิธีการหลังจากผ่านขั้นตอนการจ่ายลม ปรับสมดุลของลม และเช็กการรั่วซึมแล้ว จะทำการเช็กรั่วซึมอย่างละเอียดอีกครั้ง
จากกราฟด้านบน เป็นสรุปขั้นตอนการทำงานทั้งหมดของเครื่อง ซึ่งหลังจากเครื่องอ่านค่าแรงดันลมแล้ว กราฟจะแสดงผลว่า แรงดันลมฝั่งชิ้นงานและแรงดันลมฝั่งมาสเตอร์แตกต่างกันเท่าไหร่ พร้อมกับแสดงข้อมูลว่าเป็น OK หรือ NG
▶ 3. สูตรการคำนวณอัตราการรั่ว และความสำคัญของปริมาตรในการทดสอบการรั่วไหล