ในบทความนี้ ขออธิบายถึงกรณีศึกษาของบริษัทที่ใช้แบบทดสอบ HCi-AS และแบบทดสอบ Uchida-Kleperin ที่ใช้สำหรับสรรหาบุคคลากร โดยแบบทดสอบ HCi-AS เป็นแบบทดสอบที่ทำให้ทราบถึงลักษณะนิสัย ข้อดี ข้อเสียของผู้สอบ โดยใช้เวลาเพียง 10นาที และแบบทดสอบ Uchida-Kleperin เป็นแบบทดสอบคำนวณตัวเลขแบบง่ายๆ โดยต้องคำนวณซ้ำไปมาในระยะเวลาที่กำหนด
แบบทดสอบ Uchida-Kleperin เป็นการบวกเลขหลักเดียวอย่างง่าย ๆ ภายในหนึ่งบรรทัด โดยจะแบ่งการทดสอบเป็น 2 ช่วง คือครึ่งแรกและครึ่งหลังอย่างละ 15 นาที รวมเป็นเวลา 30 นาที โดยแบบทดสอบสามารถวัดลักษณะได้ 2 ประการดังนี้
1. ความสามารถของตัวบุคคลในการทำงาน
2. ลักษณะเด่นหรือความสามารถอื่นๆ
แบบทดสอบ HCi-AS เป็นแบบทดสอบแบบฝนคำตอบ มีทั้งหมด 4 ตัวเลือก จำนวนคำถาม 30 ข้อ โดยแบบทดสอบดังกล่าวมีจุดเด่นด้วยกัน 3 ประการคือ สามารถทำแบบทดสอบได้ภายใน 10 นาที, เป็นคำถามที่ไม่สามารถคาดเดาคำตอบที่ทำให้ตัวเองดูดีได้, ทราบผลการทดสอบได้ทันทีผ่านทางออนไลน์
บริษัทด้านอุตสาหกรรมการผลิต A (นามสมมุติ) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ ได้มีการทดสอบความเหมาะสอบก่อนการจ้างงานพนักงานในโรงงาน โดยทางเราได้สอบถามไปทาง GM ชาวญี่ปุ่นและพนักงานฝ่ายบุคคลชาวไทยของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น A ถึงความตั้งใจและผลลัพธ์ที่ได้หลังจากใช้งานแบบสอบถามทั้ง 2 ประเภท
GM บริษัท A: เนื่องจากเราเป็นผู้ที่ทำงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต พนักงานในไลน์การผลิตจึงต้องมีความสามารถในการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและต้องทำงานตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่รักษากฎในการทำงาน เช่น ไม่มีสมาธิระหว่างทำงาน, นำเครื่องดื่มหรือสวมรองเท้าเข้าไปในไลน์การผลิต, ทิ้งขยะไว้ตามจุดต่างๆ เป็นต้น
ในทางกลับกัน พนักงานที่ทำงานในส่วนสำนักงาน ก็ต้องเป็นคนที่มีความสามารถด้านการคำนวณด้วย เมื่อได้ลองทำแบบทดสอบคำนวณที่บริษัทพบว่า ผลการทดสอบออกมาค่อนข้างแย่ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าจะจ้างงานพนักงานอย่างไรถึงจะได้พนักงานที่มีความสามารถด้านการคำนวณพื้นฐาน
ผมคิดว่าแบบทดสอบ Uchida-Kleperin เหมาะสำหรับการตัดสินว่าบุคลากรเหล่านั้นเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับงาน เพราะผลการสอบสามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ และสามารถตัดสินจุดเด่นของพนักงานได้ สำหรับแบบทดสอบ HCi-AS จะทำให้เห็นถึงคุณลักษณะที่แท้จริงของบุคคลนั้น ก่อนที่จะใช้แบบทดสอบข้างต้นในการสรรหาบุคลากร ผมได้ให้พนักงานชาวไทยในโรงงานทำแบบทดสอบ ได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเป็นพนักงานเป็นคนที่มีศีลธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำและถูกประเมินผลเป็นลบว่ามีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับต่ำอีกด้วย (จากรายงานผลการประเมิน) ผมรู้สึกว่าผลการประเมินนั้นตรงมาก
ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ซึ่งมีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและให้ค่าตอบแทนสูงตั้งอยู่มากมายนั้น บุคลากรที่มีความสามารถมักจะนิยมสมัครงานที่บริษัทดังกล่าว ทว่าการจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถในจำนวนที่ถูกจำกัดไว้นั้น การใช้แบบทดสอบทั้ง 2 ประเภทจึงเป็นสิ่งจำเป็น
พนักงานฝ่ายบุคคล ชาวไทย: จากการนำข้อสอบมาใช้ในการสรรหาบุคลากรทำให้ลดความเสี่ยงจากการจ้างบุคลากรที่ไม่รักษากฎในการทำงานลดได้มาก ตลอดจนจำนวนจดหมายเตือนการผิกกฎในบริษัทก็ลดลงและประสิทธิภาพในการทำงานยังเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ฉันรู้สึกประหลาดใจมากที่ในบริเวณโรงงานสะอาดมากขึ้น