▲คุณ Kinoshita ตำแหน่ง SGM ที่เพิ่งเดินทางมาที่ประเทศไทย (ด้านซ้าย) และคุณ Miyauchi ตำแหน่ง GM (ด้านขวา)
บริษัท Hirata Engineering (Thailand) มีสำนักงานใหญ่คือ Hirata Engineering Co., Ltd. ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองคุมาโมโตะ จังหวัดคุมาโมโตะ โดยเป็นผู้วางระบบผลิตเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต และอุปกรณ์การขนส่งที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยการผสมผสานอุปกรณ์ที่ยอดเยี่ยมจากผู้ผลิตต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
ในบทความนี้เราได้สัมภาษณ์คุณ Yasuyoshi Miyauchi ตำแหน่ง General Manager (GM) ซึ่งจะเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม 64 และคุณ Yoshiteru Kinoshita ตำแหน่ง Senior Manager (SMG) ซึ่งเดินทางมารับตำแหน่งที่ประเทศไทย โดยได้พูดคุยเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของการผลิตในประเทศไทยและเทรนด์ใหม่ล่าสุดของอุตสาหกรรมเครื่องจักร
Hirata Engineering (Thailand) ตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างระบบที่ใช้งานง่ายโดยผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
คุณ Miyauchi: คุณ Kinoshita ที่เพิ่งเดินทางมาประเทศไทย เคยทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรการผลิตที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่สาขาใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น โดยความเชี่ยวชาญของเขาคือ ด้านไฟฟ้าและการควบคุมทั่วไป แต่การทำงานในประเทศไทยเขาคาดคาดหวังที่จะทำงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขาย, แนวคิดการทำงานของเครื่องจักร, การผลิต, การติดตั้ง, รวมถึงบริการหลังการขาย
คุณ Kinoshita: ในครั้งนี้ผมได้เดินทางมารับตำแหน่งที่บริษัท Hirata Engineering (Thailand) ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ โดยผมตั้งใจว่าจะรักษาสุขภาพที่ดีในการทำงานด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและปรับปรุงเงื่อนไขในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย
คุณ Kinoshita: สำหรับ "การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของลูกค้า" เราขอเสนออุปกรณ์อัตโนมัติที่รวมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การมองเห็นเข้าไว้ด้วยกัน โดยการปรับปรุงเงื่อนไขในการทำงานด้วยการแทนที่เครื่องจักรที่ทำงาน 3K หรือการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่ำ เช่น การแบกของหนัก, การทำงานง่ายซ้ำๆ กัน, หรือการทำงานในท่าหมอบเป็นเวลานาน โดยเราขอนำเสนอเป็นการก่อสร้างโรงงานผลิตแบบครบวงจร ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างละเอียดอ่อนในการทำงาน จึงควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเครื่องจักรในการกำหนดกระบวนการเหล่านั้นอย่างแม่นยำ
ขอนำเสนออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบครบวงจรที่ใช้ไฟฟ้ามาแทนอากาศ!
คุณ Kinoshita: "Safe and ECO" เป็นเทรนด์ล่าสุดในอุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ไม่ใช้อากาศในโรงงานเริ่มมีให้เห็นมากขึ้น
คุณ Miyauchi: เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมากสำหรับเลือกใช้ชิ้นส่วนไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ จึงทำให้กระบอกลมที่ใช้อากาศเป็นแรงขับเคลื่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ในทุกวันนี้ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจึงทำให้สามารถลดขนาดของมอเตอร์และแผงควบคุมลงได้และสามารถผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ อีกทั้งอากาศอัดทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานเนื่องจากต้องใช้เครื่องอัดอากาศเพื่อรักษาแรงดันให้คงที่ตลอดเวลา แต่ว่าชิ้นส่วนไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ จะใช้พลังงานเมื่อเคลื่อนที่เท่านั้น
คุณ Kinoshita: เราผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปลี่ยนกระบอกลมธรรมดาได้อย่างง่ายดายด้วย Actuator ไฟฟ้าแรงขับต่ำ ซึ่งอยู่ในเครื่องรุ่น "Electrification series" โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์เครื่องจักรจะลดการใช้พลังงานของโรงงานและลดการปล่อย CO2 ได้ ซึ่งเรามีอุปกรณ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมครับ
คุณ Miyauchi: หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักรใหม่, การปรับปรุงกระบวนการ, การประหยัดพลังงาน เป็นต้น สามารถติดต่อมาที่บริษัทเราได้ครับ พนักงานของเราจะให้บริการอย่างเต็มที่ครับ
สุดท้ายนี้สำหรับผมแล้ว ช่วงเวลาที่ผมมาประจำการที่ประเทศไทยกำลังจบลงและกำลังจะกลับไปเริ่มต้นใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่นครับ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาด้วยการสนับสนุนจากลูกค้า, บริษัทคู่ค้า, ซัพพลายเออร์และพนักงานในประเทศไทย ทำให้ผมผ่านพ้นการทำงานตลอดระยะเวลา 5 ปีครึ่งนี้ไปได้อย่างดี ขอขอบคุณมากจริงๆครับ
สำหรับการเดินทางกลับญี่ปุ่นในครั้งนี้ผมจะกลับไปประจำการอยู่ที่แผนก 2 (แผนกดูแลอุปกรณ์เครื่องจักรที่เกี่ยวกับยานยนต์) ของสำนักงานใหญ่ในจังหวัดคุมาโมโตะและผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าความสัมพันธ์กับประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์จะยังคงเฟื่องฟูต่อไปในอนาคต เรายังคงร่วมมือกับพนักงานชาวไทยในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าเองก็มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการผลิตด้วยเช่นกัน หลังจากนี้ผมขอฝากบริษัท Hirata Engineering (Thailand) ด้วยนะครับ
เครื่องจักรรุ่น Electrification series
ECO electric stopper CG
เนื่องจากขับเคลื่อนด้วย DC 24V เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ลม เช่น คอมเพรสเซอร์ และไม่จำเป็นต้องมีการตั้งค่าที่ซับซ้อน โดยสามารถติดตั้งในสายการผลิตได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
Electric traverser ETV600-2300
ขับเคลื่อนด้วย 24V DC จึงไม่จำเป็นต้องมีหน่วยจ่ายไฟขนาดใหญ่ อีกทั้งรถ traverser ไฟฟ้าที่สามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยด้วยแรงขับต่ำ (ประมาณ 75N หรือน้อยกว่า) จะสามารถกำหนดตำแหน่งกับส่วนต่อของสายพานลำเลียงได้
Free flow conveyor [CV50C]
สายพานลำเลียงไฟฟ้า (สายพานลำเลียงแบบ Free flow) ที่สามารถบรรทุกของหนักได้ถึง 280 kg. และสามารถหยุดการขนย้ายได้ทันทีด้วยมือเดียว อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เซนเซอร์ความปลอดภัย จึงทำให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้