เมื่อพูดถึงการปรับปรุงภายในโรงงานและกระบวนการผลิต นอกจากการอัปเกรดเครื่องจักรและปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้ว ยังต้องปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของคนด้วย โดยพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้มองเห็น “จุดต่างๆ ที่มีเพียงคนเท่านั้นที่จะสังเกตเห็นได้” การสังเกตจากข้อมูลที่รวบรวมมาและการเข้าใจปัญหาต่างๆ ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้นในปัจจุบันภายหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19
จากประเด็นข้างต้นคุณจะนำ IoT ไปใช้ในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อย่างไร ?
ก่อนหน้านี้ เราได้แนะนำตัวอย่างการแสดงข้อมูลเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้ SEESET ครั้งนี้จะขออธิบายขั้นตอนการอ่านข้อมูลที่ส่งจากเครื่องจักรในโรงงานผ่าน PLC แล้วเก็บลงในฐานข้อมูล การเตรียมอินเตอร์เฟสข้อมูลบนเครื่อง PC การเชื่อมต่อกับ FA การติดตามข้อมูล และการดึงข้อมูล
ปัญหาของลูกค้า
หมายเลขซีเรียลของลูกค้าถูกติดไว้บนชิ้นส่วนที่จะเข้าไปทำกระบวนการโดยเครื่องจักร แต่ในบางกรณีอาจมีตัวเลขซ้ำกันได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีหมายเลขซ้ำกันถูกส่งไปยังลูกค้าจึงจำเป็นต้องนำชิ้นส่วนที่ซ้ำกันออกก่อนดำเนินการ
ระบบที่นำเสนอโดย iCONEXT
นอกจากการแก้ไขปัญหาข้างต้นแล้ว เรายังนำเสนอระบบตรวจสอบเครื่องจักรที่สามารถรับข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับจากอุปกรณ์การผลิตผ่าน PLC และแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้
1. ระบบตรวจสอบเครื่องจักรด้วยแอปพลิเคชัน Windows
・รับและแสดงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับจากฐานข้อมูล
・นำข้อมูลบนหน้าจอออกมาเป็นไฟล์ Excel
2. อินเตอร์เฟส PLC
ระบบนี้ใช้ PLC เป็นอินเตอร์เฟสเพื่อรับข้อมูลจากเครื่องจักร เช่น หมายเลขเครื่องจักร หมายเลขเครื่องมือสปินเดิล เวลาของแคลมป์ เวลาการตัดเฉือน หมายเลขซีเรียล และจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ SQL
3. IoT Data Share
Middleware ของบริษัท DENSO WAVE เป็นอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ FA เช่น PLC เข้ากับระบบ IT โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
ภาพรวมของระบบ
1: การตรวจจับหมายเลขซีเรียลซ้ำ
ก่อนทำกระบวนการที่เครื่องจักร จะตรวจสอบหมายเลขซีเรียลของชิ้นส่วนว่าซ้ำกันหรือไม่ ซึ่งแขนหุ่นยนต์และเครื่องสแกนจะถูกติดตั้งที่ด้านหน้าของเครื่องจักร โดยเครื่องสแกนจะอ่าน QR Code ที่อยู่บนชิ้นส่วนแล้วส่งข้อมูลไปยัง Master PLC หลังจากนั้น IoT Data Share จะรับหมายเลขซีเรียลจาก Master PLC และตรวจสอบกับหมายเลขซีเรียลที่ผลิตก่อนหน้านี้ในฐานข้อมูลและส่งผลลัพธ์กลับไปยัง Master PLC หากชิ้นงานซ้ำกันแขนหุ่นยนต์จะนำชิ้นงานออก
2: แสดงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับ
ข้อมูลต่างๆ เช่น หมายเลขเครื่องจักร หมายเลขเครื่องมือสปินเดิล เวลาของแคลมป์ เวลาการตัดเฉือน และหมายเลขซีเรียลจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลและสามารถค้นหาประวัติตามช่วงเวลาหรือหมายเลขซีเรียลได้อย่างง่ายดาย
การใช้ "ซอฟต์แวร์การรวมข้อมูล" ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ FA และมีฟังก์ชันเฉพาะสำหรับการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ แจ้งเตือนและเผยแพร่ข้อมูล ช่วยลดเวลาในการพัฒนาระบบและลดต้นทุนได้ โดยโปรเจกต์นี้เราได้นำ Denso IoT Data Share มาใช้ภายในกระบวนการทำงาน ซึ่งมีไดรเวอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ของผู้ผลิตหลายราย จุดแข็งอีกหนึ่งประการของ iCONEXT คือ ความเข้าใจถึงข้อดีในการเชื่องโยงระบบ
✔ ในการรับข้อมูลต่างๆ จากเครื่องจักรผ่าน PLC หากไม่มี IoT Data Share จะต้องเขียนโปรแกรม PLC และต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุน
✔ สามารถดึงและเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลต่างๆ เช่น MS SQL และ MYSQL ได้
✔ แปลงข้อมูลจากเครื่องจักรให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจและแสดงผลบนระบบได้
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการตรวจจับชิ้นส่วนที่ซ้ำกันอย่างอัตโนมัติและนำออกจากกระบวนการผลิตได้อย่างง่ายดาย
2. ตรวจสอบรายละเอียดประวัติการผลิตของแต่ละชิ้นส่วนได้อย่างง่ายดายเพียงกรอกหมายเลขซีเรียล
3. การนำ IoT Data Share มาใช้เชื่อมต่อกับระบบตรวจสอบเครื่องจักร ทำให้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อกับ PLC นำไปสู่การลดต้นทุนและเวลาในการพัฒนาระบบได้
กระบวนการทำงานของเราเริ่มจากรับฟังปัญหาของลูกค้า โดยทีมพัฒนาระบบของ iCONEXT ที่มีประสบการณ์จะนำเสนอระบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า เราสามารถนำเสนอระบบที่ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย เช่น ระบบที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ระบบที่เชื่อมต่อกับระบบปัจจุบัน ระบบจัดการและแสดงข้อมูล