ในคอลัมน์นี้ต้องการจะพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาของโรงงานผลิตและทิศทางการยกระดับมูลค่าเพิ่มในอนาคตภายใต้การสำรวจแบบสอบถาม “ สภาพที่แท้จริงและแนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย” ของบริษัทเราต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว
ดังที่ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งที่แล้ว ปัญหาหนึ่งที่ควรแก้ไขเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องของบริษัท คือ“ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มบุคลากรและการเพิ่มอัตราค่าจ้าง” ในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังนี้ มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก แนวโน้มของค่าแรงขั้นต่ำ การขาดแคลนแรงงาน และ แรงงานสูงวัย ฯลฯ ประเด็นปัญหาที่ตามมาคือ “ ยอดขายตกต่ำ อัตราการขยายชะลอตัว” คาดการณ์ว่าในอนาคตสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ฯลฯ เพื่อรักษาการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงดังที่กล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องเป็นฐานการผลิตที่แข็งแกร่งที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะมีปัญหามากมายเพียงใดก็ตาม
เมื่อดูผลลัพธ์ของ ① จะเห็นได้ว่ามีหลายบริษัทที่ประสบปัญหาการตระหนักด้าน QCD (คุณภาพ·ราคา·กำหนดส่งมอบ)ซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลิตให้กลายเป็นจริง ปัญหาที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ” แรงงาน·อุปกรณ์และผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น” ในความเป็นจริง หากลองฟังเสียงของหัวหน้างานในโรงงานผลิต จะพบสถานการณ์ที่ว่า “ถ้าฉันหยุดพูด กิจกรรมการปรับปรุงก็จะหยุดตาม” “แรงจูงใจจะแตกต่างกัน” และ “ หลายปีมานี้ ได้ทำกิจกรรมเพิ่มผลผลิตมาอย่างต่อเนื่องแต่ อาจต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปี” จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรีบแก้ไขปัญหาในมือและวางรากฐานการเติบโตอย่างเร่งด่วน
สำหรับการยกระดับมูลค่าเพิ่มเพื่อรักษาการเติบโต เมื่อดูผลลัพธ์ของ ② มีบริษัทหลายแห่งที่เริ่มต้นพัฒนา ·เทคโนโลยีการผลิต และมุ่งเป้าหมายไปที่ฐานการผลิตของตัวเอง” ถัดไป เป็น “การผลิตให้ได้หลากหลายประเภทของผลิตภัณฑ์มากขึ้น·ทำให้ความสามารถในการผลิตมีเหนือกว่า” เพราะคาดการณ์ว่าด้วยประเภทของผลิตภัณฑ์และปริมาณในสถานการณ์ปัจจุบัน อาจทำให้ฐานการผลิตไม่สามารถอยู่รอดได้
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา
Office
Tel: +66(0)2-168-3037
Katsuta
Email: hiroaki_katsuta@jmac.co.jp
Ms.Suriyawadee V.
Tel: +66 (0)2-168-3037
Email: jmac_info@jmac.co.th