หัวข้อในครั้งนี้คือ “การปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง” และ “การพัฒนาองค์กร/ทรัพยากรมนุษย์” เพื่อ “ความยั่งยืนขององค์กร” จากการปรับปรุงมูลค่าเพิ่มของฐานการผลิต
ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตจากญี่ปุ่น หลังจากที่ได้เข้าสู่ตลาดการค้าและได้สะสมประสบการณ์มามากมายพนักงานคนไทยรุ่นแรกก็เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ พร้อมกับมีแรงกดดันที่ต้องลดจำนวนพนักงานญี่ปุ่นในท้องถิ่น จึงทำให้เห็นความจำเป็นของการ Localization ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามาศึกษาและพิจารณาขั้นตอนสุดท้ายของการ Localizationและความยั่งยืนขององค์กรจากมุมมองของวัฒนธรรมองค์กรกันครับ
ปัจจุบันมีการแข่งขันและทีมงานทั่วโลกมากมายที่กำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับ Winning Culture (วัฒนธรรมของผู้ชนะ) ยกตัวอย่างเช่น ในสโมสรฟุตบอล FC บาร์เซโลนาของสเปน (ชนะ7 ครั้งในรอบ10 ปีที่ผ่านมา) สมาชิกทุกคนตั้งแต่สมาชิกใน 16 ทีมฝึกอบรมไปจนถึงทีมชั้นนำ โค้ช แผนกต้อนรับ และเจ้าหน้าที่ทุกคนล้วนได้ทำสัญญาตกลงกัน เช่น ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันด้วยความรู้สึกเดียวกันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง รักษาลูกบอลไว้ให้ได้ 100% เป็นต้น และเพื่อให้สามารถรักษาสัญญาเหล่านี้ได้ พวกเขาจึงได้สร้างระบบการศึกษาและการฝึกฝนที่เป็นระบบและมีตรรกะไว้
ในทางตรงกันข้ามเมื่อเกิดปัญหาขึ้นให้ใช้มาตรการชั่วคราวและถาวร ด้วยเหตุนี้ ขณะที่เวิร์กโฟลว์การป้องกันการรั่วไหลได้ดำเนินการอย่างชัดเจน การศึกษาและการสนับสนุนการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นมาตรการถาวรหรือไม่? ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร? ในอดีตเคยมีปัญหาที่คล้ายกันหรือไม่? เกิดปัญหาเหล่านี้ในสายงานอื่นหรือไม่? มีปัญหากับชิ้นส่วนที่คล้ายกันหรือไม่? พนักงานทุกคนทราบหรือไม่ว่าการทำความเข้าใจปัญหาและการทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง? นอกจากในแผนกของตนแล้ว มีการแบ่งปันข้อมูลให้กับแผนกอื่นๆ รวมถึงแผนกทรัพยากรมนุษย์ แผนกธุรการทั่วไปและแผนกบัญชีหรือไม่? หากลองค้นหาจุดอ่อนของที่สถานที่ทำงานอาจช่วยให้สถานการณ์บริษัทดีขึ้นได้
หากลองค้นหาใน Google ที่มีการพัฒนาและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จะพบว่าคำว่า Winning Culture นั้นมีอยู่ทั่วไปในการจัดการองค์กรรายวัน และดูเหมือนว่าจะมีตำแหน่งงานประจำที่เรียกว่า Chief of Culture Officer (หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางด้านวัฒนธรรม) ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมทางด้านวัฒนธรรมด้วย หนึ่งในปัจจัยที่กำหนดความยั่งยืนของฐานความคิดของไทยก็คือ ค่านิยมและแนวคิดวิธีการทำงานที่จะกลายเป็น “วัฒนธรรมของบริษัทเราได้” ในงานสัมมนาวันที่ 7 ตุลาคมนี้ เราจะได้พูดคุยกันอย่างละเอียดพร้อมกับเรียนรู้จากตัวอย่างว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างค่านิยมและแนวคิดวิธีการทำงานได้อย่างเหมาะสมในแบบฉบับของเรา? ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับองค์กรได้? เป็นต้น
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา
Office
Tel: +66(0)2-168-3037
Katsuta
Email: hiroaki_katsuta@jmac.co.jp
Ms.Suriyawadee V.
Tel: +66 (0)2-168-3037
Email: jmac_info@jmac.co.th