ครั้งนี้ ผมขอพูดถึงกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับความเป็นจริงของ “การยกระดับความสามารถของคลังสินค้าโลจิสติกส์”
ผมรับงานปรึกษาในเรื่อง “ต้องการให้ยกระดับความสามารถในการขนส่งสินค้าของคลังสินค้า”จากผู้บริหารของบริษัทไทยแห่งหนึ่ง (ต่อไปจะเรียกว่าบริษัท x ) และผมต้องตกใจกับสภาพความเป็นจริง ขณะที่ได้ไปเยี่ยมชมคลังสินค้าของบริษัท x ท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส คนงานชาวพม่าถอดเสื้อครึ่งบน ทำงานแบกถุงสินค้าขนาด 50 กก. ปีนขึ้นไปวางซ้อนบนกองถุงสินค้าที่สูงประมาณ 3-4 เมตร ในขณะที่ร่างกายเต็มไปด้วยเหงื่อ การปฏิบัติงานตั้งแต่จุดที่หยิบสินค้า( Picking )ในสถานที่จัดเก็บไปจนถึงการขนย้ายสินค้าไปยังจุดขนส่งสินค้า ถุงสินค้าขนาด 50 กก. ได้ถูกจัดการด้วยมือของคนงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด เมื่อออกมานอกอาคาร จะเห็นรถบรรทุกจำนวนมากจอดเตรียมพร้อมรออยู่ในบริเวณดังกล่าว คนขับรถไม่มีอะไรจะทำ ผู้ควบคุมชาวไทยก็เดินวนไปวนมาในสถานที่ทำงานอย่างสบาย ๆ ในลักษณะที่ไม่รีบร้อน การที่จะให้ยกระดับความสามารถในการขนส่งของคลังสินค้าเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมใจไว้อย่างมาก
เป้าหมายของการยกระดับความสามารถคือ “ 1.5 เท่าของสภาพปัจจุบัน” และมีความจำเป็นต้องพิจารณารวมถึงการลงทุนอุปกรณ์ด้วย ก่อนหน้านี้บริษัท x เคยพิจารณาจะนำอุปกรณ์มาใช้ แต่หลังจากพูดคุยกับผู้ขายหลายรายแล้ว กลายเป็นว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือคือ "ทำการตรวจสอบทุกกระบวนการที่จะไปถึงกระบวนการขนส่งสินค้า และทำให้ปัญหาของการยกระดับความสามารถเกิดความชัดเจน "
เพื่อที่จะให้ยกระดับความสามารถในการขนส่ง จะต้องเข้าใจเป้าหมายและช่องว่างของสภาพปัจจุบันในทุกกระบวนการเป็นอย่างดี แล้วจึงกำหนดทิศทางการปรับปรุง ・ การปฏิรูป เช่น เกี่ยวกับนโยบายการถือครองและวิธีการจัดเก็บเพื่อควบคุมสต๊อกขาดหรือมีมากเกินไป การสั่งให้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนมาตรฐาน การขนย้ายสินค้า (Loading) ฯลฯ เพื่อหยิบสินค้าได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับเวลาของรถบรรทุกเข้า และปลายทางการจัดส่ง
หากไม่ออกแบบให้เป็นกระบวนการที่ครบวงจร โดยคำนึงถึงก่อนและหลัง จะทำให้ข้อมูลและการเคลื่อนย้ายของสิ่งของไม่ราบรื่น และกลายเป็นปัญหาได้ ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้กำหนดวิธีการปฏิรูปแต่ละกระบวนการโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ได้กำหนดแผนการปฏิรูป โดยพิจารณาแนวโน้มของอุปกรณ์โลจิสติกส์ใหม่ล่าสุด รวมถึงการตัดสินใจที่จะลงทุนอุปกรณ์อย่างมีเหตุผล
<<โปรดติดตามครั้งต่อไป>
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา
Office
Tel: +66(0)2-168-3037
Katsuta
Email: hiroaki_katsuta@jmac.co.jp
Ms.Suriyawadee V.
Tel: +66 (0)2-168-3037
Email: jmac_info@jmac.co.th