ครั้งที่แล้วเราได้แนะนำอินเทอร์เน็ต, เครือข่ายภายในบริษัทและเครือข่ายการผลิตไปแล้ว ในครั้งนี้จะขออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเครือข่ายการผลิตเพิ่มเติมอีกสักนิด
เครื่องจักรและอุปกรณ์ในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเครือ ข่ายภายในอุปกรณ์ดังที่แสดงไว้ในรูปภาพก็จริง แต่บริษัทส่วนใหญ่กลับไม่มีการนำเครือข่ายของอุปกรณ์ดังกล่าว นั้นมาเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายภายในบริษัท เนื่องจากการเชื่อมโยงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเข้ากับระบบเครือข่ายนั้นค่อนข้างใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IoT ทำให้การเชื่อมต่อเซนเซอร์แต่ละตัวเข้ากับเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยง่ายและมีราคาถูกมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีหลายบริษัทที่พยายามเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับเครือข่ายภายในบริษัท แม้เพียงแค่เซนเซอร์ หรือ Controller ไม่กี่ตัวก็ตาม หากการเชื่อมต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหมดเข้ากับเครือข่ายภายในบริษัทเป็นเรื่องที่ยากแล้ว จากการกระทำดังกล่าวนี้ทำให้เราสามารถรับข้อมูลที่ต้องการบนเครือข่ายภายในบริษัทได้
ข้อมูลที่ต้องการ อาทิ ผลิตชิ้นงานรุ่นใด, เป็นจำนวนกี่ชิ้น, มีงานเสียเท่าไหร่, ใช้เวลานานหรือไม่ ฯลฯ หากเราสามารถรับและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้โดยอัตโนมัติแล้วจะ
ทำให้เข้าใจได้ว่าสภาพการทำงานเป็นเช่นไร เกิดปัญหาอะไร ในเชิงปริมาณ จนนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ จากการประเมินการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร ยังทำให้เราสามารถทำการบำรุงรักษาล่วงหน้าได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ที่ได้จาก การจัดทำระบบ IoT นั่นเอง
ในครั้งถัดไปจะขออธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างและผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดทำระบบ IoT
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา
Office
Tel: +66(0)2-168-3037
Katsuta
Email: hiroaki_katsuta@jmac.co.jp
Ms.Suriyawadee V.
Tel: +66 (0)2-168-3037
Email: jmac_info@jmac.co.th