เทคโนโลยีการเคลือบผิว DLC (Diamond Like Caron) ที่บริษัท CNK MANUFACTURING (THAILAND) (จากนี้ไปจะขอเรียกว่าบริษัท CNK THAILAND) แนะนำไปในบทความครั้งที่แล้ว ซึ่งมีการนำไปใช้งานในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน เช่น ผิวภายในของขวดพลาสติก, สายนาฬิกา, กรอบแว่นตา ฯลฯ โดยการเคลือบผิว DLC ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้มากมาย อาทิ ความทนทานต่อการกัดกร่อน (เนื่องจากมีการสร้างฟิล์มที่ของเหลวหรือออกซิเจนไม่สามารถผ่านได้จึงไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น), ความทนทานต่อการสึกหรอ (ลดการสึกหรอจากแรงเสียดทาน), ป้องกันการเกิดรอยไหม้ (ลดความร้อนจากแรงเสียดทาน), เพิ่มความเรียบผิว (ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำจากการเคลือบฟิล์มที่มีผิวเรียบ), ความเป็นฉนวน ฯลฯ
บริษัท CNK THAILAND เริ่มให้บริการเคลือบผิว DLC ตั้งแต่ปี 2020 โดยเริ่มจากการเคลือบผิวให้กับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ เนื่องจากความต้องการด้านการเคลือบผิว DLC เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย เราจึงได้รับการสอบถามจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ครั้งนึ้งได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Nariyuki Asai รองประธานบริษัท CNK MANUFACTURING (THAILAND) และคุณ Hiroyuki Hashitomi ที่ปรึกษาด้านการผลิตของบริษัท เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
▲ภาพระหว่างการทำงานเคลือบผิว DLC
- ตัวอย่างของการเคลือบผิว DLC มีอะไรบ้าง ?
Asai: การเคลือบผิว DLC มีคุณสมบัติอื่นมากมายนอกเหนือไปจากความแข็งราวกับเพชร
ตัวอย่าง เช่น
1. ใช้ประโยชน์จากความแข็งของ DLC ในการเคลือบผิวโลหะเพื่อเพิ่มความแข็งให้มากขึ้น
2. เคลือบผิวเพื่อป้องกันสนิมและยังทำหน้าที่เป็นฉนวน
3. เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานน้อย จึงช่วยแก้ไขปัญหารอยไหม้จากการสไลด์ของวัตถุที่มีน้ำหนักมาก
4. ใช้ประโยชน์จากสีดำของคาร์บอนกับเครื่องประดับที่ต้องการความทนทาน (อาทิ สายนาฬิกา ฯลฯ)
5. สิ่งแปลกปลอมเกาะติดได้ยาก จึงช่วยป้องกันการเกาะติดของสิ่งแปลกปลอมในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ฯลฯ ได้
แม้ที่ผ่านมาบริษัทของเราจะมุ่งเน้นในการนำความแข็งของ DLC มาใช้ในการเคลือบผิวชิ้นส่วนแม่พิมพ์หรือรถยนต์เป็นหลักก็ตาม แต่หลังจากที่ลูกค้าได้มองเห็นถึงข้อดีด้านการมีแรงเสียดทานที่ต่ำแล้ว ทำให้ได้รับเสียงตอบรับโดยให้นำการเคลือบผิว DLC ไปใช้กับเครื่องปั๊มขึ้นรูป (Press) มากขึ้น
ตัวอย่าง เช่น
■ชิ้นงานหลัง Press มักติดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของแม่พิมพ์ ทำให้เสียเวลาในการดึงชิ้นงานออกมา
■เนื่องจากชิ้นงานไม่ตรงตำแหน่งในช่วงระหว่างที่เครื่องจักรทำงานแบบอัตโนมัติจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงต้องปรับปรุงความทนทานต่อการหลุดลอกให้มากขึ้น
กรณีอื่น ๆ อาทิ มีการนำไปใช้ลดแรงเสียดทานระหว่างเกียร์ (Gear) และโซ่ (Chain) ของเครื่องจักรเพื่อลดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น
ไม่เพียงแค่ด้านความแข็งเท่านั้น แต่ตัวอย่างที่มีการนำคุณสมบัติของการเคลือบผิว DLC อาทิ มีแรงเสียดทานต่ำ, ไม่เกาะติดพื้นผิว ฯลฯ ไปใช้ในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งไม่เพียงแค่ชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำข้อดีของการเคลือบผิว DLC ไปใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆได้อีกด้วย
การเคลือบผิว DLC ของบริษัท CNK THAILAND แตกต่างไปจากการเคลือบผิว DLC ของบริษัทอื่นอย่างไร ?
Hashitomi: เนื่องจากการเคลือบ DLC ของบริษัทมีการใช้แก๊ส (วิธีการเคลือบแบบ DC Plasma CVD และ PIG Plasma CVD) จึงทำให้ได้ผิวที่สวยงาม
หากใช้วิธีการเคลือบผิวที่ไม่เรียบเช่นเดียวกับ PVD-A ในตารางข้างต้นแล้ว จะทำให้ค่าแรงกระแทกต่อวัตถุตรงข้ามเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่าง เช่น หากนำมาเคลือบที่ดอกสว่านแล้วอาจทำให้ปริมาณการเจาะมากเกินไปได้ แม้การเคลือบผิว DLC ของบริษัทจะทำให้ผิวมีความแข็งมาก แต่เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดแรงกระแทกกับวัตถุตรงข้ามจึงช่วยป้องกันการสึกหรอได้
- ความท้าทายในอนาคตด้านการเคลือบผิว DLC ของบริษัท CNK THAILAND คืออะไร ?
Hashimoto: คงเป็นเรื่องต้นทุนที่สูงในปัจจุบันครับ เนื่องจากมีผิวสีดำที่สวยงามและทนทาน จึงทำให้ลูกค้าอยากนำการเคลือบ DLC นี้ไปใช้กับก๊อกน้ำประปาด้วย แต่เนื่องจากทำให้ราคาจำหน่ายสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด จึงไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ครับ แต่ผมคิดว่าสามารถนำไปใช้กับคฤหาสน์ได้
- สุดท้ายนี้ ฝากอะไรทิ้งท้ายกับผู้อ่าน
Hashitomi: บริษัทของเรามีผลิตภัณฑ์เคลือบผิวสำหรับทดลองเพื่อให้ทุกท่านได้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของการเคลือบผิว DLC ท่านสามารถสอบถามราคาหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที เราหวังว่าจะได้รับความสนใจจากทุกท่านครับ
Asai: เราจะเผยแพร่เทคโนโลยี DLC ของบริษัท CNK ที่ประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไปเพื่อให้ทุกท่านได้ลองสัมผัสถึงผลลัพธ์ที่ได้จาก DLC ของบริษัท
หากท่านกำลังมองหากระบวนการแปรรูป อาทิ การเคลือบผิว DLC (DLC Coating), การชุบแข็งด้วยกระแสเหนี่ยวนำ (Induction Hardening), การชุบแข็งและการอบคืนตัวด้วยคาร์บอน (Carburizing hardening and quenching) ในประเทศไทยแล้ว กรุณาสอบถามได้โดยผ่านการกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้