เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัท "Kintetsu Express" มุ่งเน้นการให้บริการขนส่งทางเรือและการให้บริการที่มีรูปแบบเฉพาะตัว เช่น บริษัท KWE-KINTETSU WORLD EXPRESS THAILAND CO., LTD. (KWE Thailand) ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยนั้นได้มีการพัฒนาการให้บริการ "Container Round Use (CRU)" เพื่อใช้ประโยชน์จากตู้ Container เปล่าให้มีประสิทธิภาพและ "Auto direct international” เพื่อใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งยานพาหนะไปยังจุดหมายปลายทาง ครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบริการดังกล่าวข้างต้น
"Container Round Use (CRU)" การใช้ประโยชน์จากตู้คอนเทนเนอร์เปล่าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนการขนส่งและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)
คุณโทโยดะ ผู้รับผิดชอบด้าน การบริหารการขายธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ กล่าวว่า "Container Round Use (CRU) เป็นบริการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อการลดต้นทุนในการขนส่งและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก"
▲ระบบและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Container Round Use (CRU)
ก่อนหน้านี้โดยปกติการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจะถูกส่งกลับไปยังลานตู้สินค้าหลังจากส่งมอบสินค้าไปยังปลายทางเสร็จสิ้นแล้ว โดยทั่วไปของการส่งคืนตู้เปล่า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (ค่าแรงและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่นๆ ) จะถูกรวมเข้าไปกับค่าบริการทั้งหมดด้วย
ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การแข่งขันด้านต้นทุนทวีความรุนแรงมาก เนื่องจากมีบริษัทโลจิสติกส์จากประเทศเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น การคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ (เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามไปอีกด้วย นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา องค์กรการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) ยังได้ออก "ระเบียบ IMO2020" ว่าด้วยเรื่องของการลดซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสภาพแวดล้อมของโลก และแน่นอนว่าต้นทุนการขนส่งจะเพิ่มขึ้นอีก
ภาพใต้สภาวะดังกล่าวนี้ บริษัท KWE ประเทศไทย จึงได้ให้ความสำคัญกับบริการ Container Round Use (CRU) ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะลดต้นทุนและคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยระบบดังกล่าวนี้มีความเรียบง่ายมากเพียงแค่นำตู้คอนเทนเนอร์ ที่ได้รับการจัดส่งไปจนถึงท่าเรือของจุดหมายปลายทางหรือหลังจากที่ขนถ่ายสินค้าที่บริษัทลูกค้าแล้ว กลับมาใช้ในการส่งออกสินค้าจากประเทศดังกล่าวต่อ จากการใช้ประโยชน์นี้จะทำให้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้หากสามารถลดการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เปล่าได้ ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
คุณโทโยดะยังกล่าวอีกว่า "การแข่งขันด้านราคาใกล้จะถึงขีดจำกัดแล้ว และเราคิดว่าจากนี้ต่อไปลูกค้าจะมีความต้องการในเรื่องของการให้บริการที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มในการให้บริการมากขึ้นอีกด้วย เราถูกสอบถามอย่างมากจากบริษัท ญี่ปุ่น เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เราวางแผนที่จะดำเนินและขยายบริการนี้ต่อไป เราเชื่อว่าการพิจารณาเรื่องสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น รวมถึงการสรรหาทรัพยากรบุคคลของบริษัทลูกค้าของเราด้วย"
Auto direct international การใช้ตู้ Container ในการจัดส่งยานพาหนะไปยังจุดหมายปลายทางโดยสามารถรองรับต่อกำหนดการที่ยืดหยุ่นได้ (ประเทศไทย)
Auto direct international เป็นบริการที่นำยานพาหนะที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว (ยานพาหนะจริง) เข้าไปไว้ในตู้ คอนเทนเนอร์ และทำการจัดส่งตู้ คอนเทนเนอร์ ดังกล่าวไปยังสถานที่ที่เป็นจุดหมายปลายทาง หากเป็นการขนส่งยานพาหนะในปัจจุบันแล้วจะเป็นการขนถ่ายยานพาหนะลงเรือทีละคันและใช้เรือในการขนส่งในคราวเดียว วิธีการดังกล่าวนี้จะไม่สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้จัดจำหน่ายได้อย่างยืดหยุ่น เราจึงได้สร้างบริการนี้ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ตู้คอนเทนเนอร์ ที่สามารถบรรจุยานพาหนะประมาณ 4-6 คันจะสามารถจัดส่งด้วยเรือขนส่งตู้สินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องรอเรือเฉพาะเลย ทำให้สามารถขนส่งได้ตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ คุณวาดะ ผู้รับผิดชอบแผนกจัดซื้อระวางสินค้าทางเรือกล่าวว่า "การบรรจุยานพาหนะที่ได้รับมาจากลูกค้าเข้าไปเก็บไว้ในตู้ คอนเทนเนอร์ จะช่วยลดความเสียหายอันเนื่องมาจากลมและพายุในช่วงระหว่างขนส่งได้ บริษัท APLL ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเราเริ่มให้บริการการขนส่งไปยังประเทศเวียดนามแก่ผู้ผลิตรถยนต์บางส่วนแล้ว ในฐานะของบริษัท KWE ประเทศไทย เราตั้งใจที่จะขยายตลาดทางด้านนี้อย่างเต็มรูปแบบร่วมกับบริษัท APLL ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2020 นี้เป็นต้นไป"
Container Round Use (CRU) และ Auto direct international นับเป็นบริการในรูปแบบใหม่ของบริษัท KWE Thailand บริษัทเรามุ่งหวังจะเป็นคู่ค้าทางธุรกิจที่แท้จริงของลูกค้าผ่านการจัดการบริการที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้
【แนะนำผู้ที่รับผิดชอบ】
คุณอกิฮิโระ วาดะ, ผู้จัดการอาวุโส, แผนกจัดซื้อระวางสินค้าทางเรือ (รับผิดชอบงานด้านจัดซื้อระวางสินค้าทางเรือ)
เริ่มทำงานกับ KWE เมื่อปี 2007 หลังจากที่ได้เริ่มรับผิดชอบด้านงานจัดซื้อระวางสินค้าทางอากาศที่สนามบินนานาชาติคันไซแล้ว ก็ได้เริ่มเข้ามาดูแลด้านการนำเข้าที่เมืองดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2011 หลังจากนั้นได้รับผิดชอบงานในแผนกจัดซื้อระวางสินค้าทางเรือที่เมืองโตเกียวและฝ่ายขายที่เมืองนาโกยา และได้มาประจำการที่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2019 ปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกจัดซื้อระวางสินค้าทางเรือ
คุณยูกิ โทโยดะ, ผู้จัดการอาวุโส, ฝ่ายขายทางเรือ (รับผิดชอบงานด้านการบริหารงานขายทางเรือ)
เริ่มทำงานกับ KWE เมื่อปี 2008 หลังจากที่ได้เริ่มรับผิดชอบงานด้านการขนส่งสินค้านำเข้าทางอากาศที่สนามบินนานาชาติจูบุ (Centrair) และบริหารงานขายทางอากาศ และทางเรือนำเข้าที่จังหวัดโตเกียว ก็ได้มาประจำการที่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2018 ปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบด้านการขายทางเรือ
หากท่านต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับบริการขนส่งของบริษัท KWE ประเทศไทย กรุณาสอบถามโดยผ่านการกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้