Kintetsu World Express ก่อตั้งขึ้นในปี 2491 โดยเป็นบริษัทด้านโลจิสติกส์ระดับสากลที่ขยายฐานด้านการขนส่งไปทั่วโลก และในปี 2532 ได้ทำการก่อตั้งบริษัท Kintetsu World Express (Thailand) Co., Ltd. (KWE Thailand) บริษัทสาขาย่อยในประเทศไทย โดยในปี 2554 ได้ทำการรวมธุรกิจกับบริษัท TKK Logistics ซึ่งเป็นบริษัทด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศไทย อีกทั้งยังเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบโลจิสติกส์ด้วยการร่วมมือบริษัท APL Logistics ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์และขยายสาขาไปมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย พร้อมกันนั้นยังได้ขยายบริการขนส่งทางบก ทางทะเลและทางอากาศด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้เราได้พูดคุยกับคุณ Shin Yamashita ประธานบริษัท KWE ประเทศไทย ในวาระแห่งการฉลองครบรอบ 10 ปีของการรวมธุรกิจกับ TKK Logistics
คุณ Yamashita ได้เข้าทำงานในบริษัท Kintetsu World Express (KWE) ในช่วงหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ได้เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 ในฐานะของประธานบริษัท KWE Thailand
คุณ Yamashita:ในปี 1989 บริษัท KWE ได้ขยายฐานบริษัทเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากนั้นบริษัท KWE จึงได้รวมธุรกิจกับบริษัท TKK Logistics※1 ในปี 2554 ในฐานะบริษัทใหม่ ซึ่งปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 10 ปีแล้วในการรวมธุรกิจ
โดยบริษัทมีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 1,250 ท่าน ในจำนวนนี้มีพนักงานชาวญี่ปุ่น 17 ท่านและชาวต่างชาติ 3 ท่าน ในส่วนของสำนักขายเรามีอยู่ด้วยกัน 6 แห่ง, คลังสินค้า 12 แห่ง※2 และมีพื้นที่คลังสินค้าทั้งสิ้นประมาณ 82,000 ตารางเมตรในประเทศไทย
สำหรับบริการของเรานั้นประกอบไปด้วย การขนส่งทางอากาศ, การขนส่งทางทะเล, ระบบโลจิสติกส์, การขนส่งข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านและการขนส่งด้วยรถบรรทุกภายในประเทศ โดยบริการทั้งหมดนี้ได้ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของสาขาในต่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมากของกลุ่มบริษัท KWE ซึ่งทำให้เราสามารถประสานงานด้านการขนส่งระหว่างประเทศตามความต้องการของลูกค้าได้
สำหรับยอดขายสามารถแบ่งได้ดังนี้ ทางอากาศคิดเป็น 60% ทางทะเลคิดเป็น 30% คลังสินค้าและอื่นๆ คิดเป็น 10%
※1 TKK: บริษัทโลจิสติกส์ของไทยที่มีจุดแข็งด้านการขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ
※2 คลังสินค้า ได้แก่ อยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง แถบท่าเรือแหลมฉบังและปราจีนบุรี เป็นต้น
คุณ Yamashita: นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท KWE Thailand ในปี 2532 เราได้ดำเนินธุรกิจหลักด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ในแง่ของการดำเนินธุรกิจแล้วพิธีการทางศุลกากร, การจัดส่งภายในประเทศและคลังสินค้ายังไม่เพียงพอเท่าไหร่นัก ซึ่งในทางกลับกันบริษัท TKK ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจไปที่พิธีการทางศุลกากร, การจัดส่งสินค้าและคลังสินค้าในประเทศไทย เป็นต้น ตลอดจนบริษัท TKK มีความแข็งแกร่งในด้านการขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เราที่มีจุดมุ่งหมายและมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน จึงได้ผนึกกำลังผ่านการรวมธุรกิจกับบริษัท TKK ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจภายในประเทศและบริษัท KWE Thailand ที่มีความเชี่ยวชาญธุรกิจระหว่างประเทศนั่นเอง
คุณ Yamashita:ครั้งนี้ถือเป็นการได้รับมอบหมายให้เดินทางมาทำงานที่ประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 ของผม แต่สิ่งที่ทำให้ประทับใจมากที่สุดคือการได้รวมธุรกิจกับบริษัท TKK โดยช่วงที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผมได้รับมอบหมายให้เดินทางมาทำงานในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 นั้น บริษัท KWE Thailand มีพนักงานประมาณ 300 คน และ TKK มีพนักงานประมาณ 700 คน ซึ่งถือเป็นจำนวนพนักงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้บริษัทญี่ปุ่นและบริษัทสัญชาติไทยยังมีมุมมองในการดำเนินงานที่แตกต่างกันอีกด้วย
ในตอนแรก ผมต้องใช้เวลาในการสื่อสารผ่านภาษากลางกับพนักงานและจำได้ว่าเป็นเรื่องยากมากกว่าบริษัท KWE จะได้รับความไว้วางใจจากพนักงาน TKK
โดยปีที่มีการควบรวมกิจการได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่※3 ลูกค้าและบริษัทของเราประสบปัญหาเป็นอย่างมาก โชคดีที่โกดังและอาคารสำนักงานของเราไม่ได้ถูกน้ำท่วมไปด้วย แต่พนักงานจำนวนมากของเราไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทต้องร่วมกันทำงานเป็นหนึ่งเดียวเพื่อจัดการกับปัญหาอุทกภัยในครั้งนั้น
ผมจำได้ว่าไม่ว่าจะเป็นพนักงานของ KWE หรือ TKK ทุกคนต่างพูดคุยกันเพื่อเอาชนะความยากลำบาก และความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานก็ค่อยๆ พัฒนาไปทางที่ดีมากขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ทำให้รู้ว่าในที่สุดบริษัทก็สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
จนในปี 2562 ผมได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้งและรู้สึกดีใจเป็นอย่างที่ได้เห็นพนักงานและบริษัทเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
※3 อุทกภัยในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ถึงมกราคม 2555
คุณ Yamashita:วิสัยทัศน์ของ KWE Group คือ "ขยายการจัดการ" และ "สร้างแบรนด์ KWE" ไปทั่วโลก ในประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งเราจะดำเนินกิจการตามวิสัยทัศน์ร่วมกันของกลุ่มบริษัทโดยใช้ประโยชน์จากบริการที่มีรายละเอียดเฉพาะสำหรับ Forwarder ชาวญี่ปุ่น
ปัจจุบันการให้บริการในแถบอเมริกาเหนือยังคงเพิ่มขึ้นและถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ KWE Thailand และเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ทำให้สายการบินต่างๆได้ลดเที่ยวบินลงในหลายประเทศ
ดังนั้นสำหรับลูกค้าที่ไม่สามารถรักษาพื้นที่ในการขนส่งได้ เราจึงมุ่งเน้นให้บริการเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำเพื่อขนส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นและแถบอเมริกาเหนือ
โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา "BKK Gateway Service" ซึ่งเป็นบริการรวบรวมสินค้าจากประเทศต่างๆทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนามบินกรุงเทพและขนส่งไปยังอเมริกาเหนือกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถผสมผสานการให้บริการขนส่งทางบกหรือ "Cross-border truck service" จากประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบข้างประเทศไทยได้ ซึ่งบริการนี้ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่ม
ด้วยความพยายามเหล่านี้ เราตั้งใจที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและทำให้พนักงานของเราคิดว่า "เป็นบริษัทที่พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างภาคภูมิใจ
คุณ Yamashita:เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ จากการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน หากการนำเข้าและส่งออกของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดและจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นเศรษฐกิจของไทยต้องได้รับการกระตุ้นถึงจะฟื้นตัวขึ้นได้
นอกจากนี้แนวโน้มความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนยังไม่มีความแน่นอน แต่สำหรับประเทศไทยยังมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้ง 2 ประเทศ ผมจึงเชื่อว่ายังคงมีช่องว่างในการเติบโตทางธุรกิจกับทั้ง 2 ประเทศอยู่
สำหรับอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยมุ่งเน้นนั้นยังเป็นอุตสาหกรรมที่บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นสามารถใช้จุดแข็งของตนเองให้เป็นประโยชน์ได้และยังมีหนทางในการพัฒนาอีกมากมาย
คุณ Yamashita:สุดท้ายนี้ พวกเราบริษัท KWE Thailand จะพยายามปรับปรุงบริการเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้นครับและผมจะยังคงมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยผ่านการทำงานต่อไปครับ