โดยทั่วไป ระบบ ERP หมายถึง กลไกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและจัดการกับการกระจายคน สินค้า เงิน และข้อมูล ซึ่งเป็นทรัพยากรการจัดการของบริษัท
Material Automation (Thailand) (จากนี้ไปจะเรียกว่า MAT) ผู้ให้บริการระบบ ERP system mcframe CS ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ
โดยในบทความนี้ เราได้ทำการสัมภาษณ์บุคคล 4 ท่าน ได้แก่ ประธานยามาชิตะ จาก Thai Shibaura Denshi, ผู้จัดการโรงงานฟูจิตะ, ผู้จัดการฝ่ายบัญชีนาริตะ และคุณอาเบะ จากแผนกระบบสารสนเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงการดำเนินงานผ่านการใช้ระบบนี้
■ แนะนำบริษัท Thai Shibaura Denshi
Shibaura Denshi ก่อตั้งขึ้นในปี 1953 เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เชี่ยวชาญในด้านการผลิตและจำหน่ายส่วนประกอบเทอร์มิสเตอร์และเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและสำหรับ Thai Shibaura Denshi ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยเป็นผู้จัดจำหน่ายส่วนประกอบเทอร์มิสเตอร์และเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิสำหรับรถยนต์ไฮบริดและระบบจ่ายน้ำ
เหตุผลที่ทำให้ต้องใช้ระบบนี้ คือ "ข้อมูลที่ไม่สามารถยืนยันได้" และ "ความล่าช้าของบริการหลังการขาย"
บรรณาธิการ:
เพราะเหตุใดจึงเลือกใช้ระบบ ERP mcframe ?
ประธานยามาชิตะ:
ก่อนหน้านี้เราได้ขยายระบบบัญชีเพื่อควบคุมการผลิต แต่ในแง่ของการควบคุมการผลิต ผมคิดว่ามันเป็นการใช้งานที่ไม่สมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ในอนาคต ผมคิดว่าระบบจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง
ผู้จัดการโรงงานฟูจิตะ:
ข้อมูลที่ไม่สามารถยืนยันได้ก็เป็นปัญหาเช่นกันครับ เนื่องจากพนักงานแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมการผลิตเป็นรายบุคคล แม้ว่าพวกเขาจะถูกถามด้วยคำถามเดียวกัน แต่คำตอบก็จะแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคนที่รับผิดชอบ
ผู้จัดการฝ่ายบัญชีนาริตะ:
ผมมักจะต้องดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบและทำการประมวลผลก่อนเสมอ จึงจะสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้งาน อีกทั้งระบบบัญชีหลักก็มีปัญหามากมายและศูนย์ซัพพอร์ตก็อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยจึงทำให้มีปัญหาด้านภาษาและความเร็วในการตอบสนอง
การนำระบบนี้มาใช้จะช่วยส่งเสริมความเป็นผู้นำด้านการจัดการให้ดีขึ้น
บรรณาธิการ:
อะไรคือส่วนที่ยากที่สุดในการปรับใช้ระบบ?
ผู้จัดการโรงงานฟูจิตะ:
คิดว่าน่าจะเป็นพนักงานชาวไทยที่ใช้วิธีจัดการข้อมูลเป็นรายบุคคลมาหลายปี ดังนั้นผมจึงค่อนข้างลังเลที่จะแนะนำให้ใช้ระบบใหม่นี้
บรรณาธิการ:
แล้วคุณรับมือหรือจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างไร?
ประธานยามาชิตะ:
ผมได้ย้ำกับพนักงานถึงความจำเป็นที่จะต้องแยกการจัดการแผ่นงานด้วย Excel ของแต่ละคนออกและสร้างโฟลว์งานขึ้น
การสนับสนุนที่รวดเร็วทำให้ได้รับความไว้วางใจจากพนักงานชาวไทย
บรรณาธิการ:
MAT สามารถนำเสนอตารางการใช้งานประมาณ 2 ปี คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานในลักษณะนี้?
คุณอาเบะ:
เป็นการตอบสนองที่เร็วกว่าผู้ขายชาวญี่ปุ่นมากและผมคิดว่ามันเป็นการดีที่จะใช้กรุ๊ปแวร์และแบ่งปันข้อมูลกับทุกคนที่เกี่ยวข้อง
ประธานยามาชิตะ:
เรามี MAT ที่เข้าใจธุรกิจของเราอย่างลึกซึ้งและสามารถตอบสนองโดยการสร้างระบบของตัวเองได้ นอกจากนี้พนักงานชาวไทยของเรายังไว้วางใจ MAT's SE เป็นอย่างมากอีกด้วย
การจัดระบบนี้ช่วยลดปัญหาการละเลยคำสั่งซื้อและลดความล่าช้าในการส่งมอบ อีกทั้งยังสามารถจัดการการติดตามความคืบหน้าแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย!
บรรณาธิการ:
ความเปลี่ยนแปลงหลังจากติดตั้งระบบแล้วคืออะไร?
ประธานยามาชิตะ:
ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานทางอ้อม ซึ่งถือเป็นผลกระทบครั้งใหญ่เพราะปกติแล้วส่วนนั้นเป็นส่วนที่ยากต่อการปรับปรุง
ผู้จัดการโรงงานฟูจิตะ:
ฟังก์ชัน MRP (Material Requirements Planning) ของระบบ ERP สามารถช่วยกำจัดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบและทำให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างมีเสถียรภาพ
คุณอาเบะ:
แม้ในสภาพการผลิตที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็สามารถใส่ชั่วโมงการทำงานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการตามที่วางแผนไว้ได้ นอกจากนี้ ด้วยการปรับใช้แฮนดี้เทอร์มินัลประมาณ 50 เครื่อง ทำให้เราสามารถเห็นความคืบหน้าของกระบวนการและสถานะสินค้าคงคลังในแบบเรียลไทม์ได้
ประธานยามาชิตะ:
นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าความคิดของพนักงานก็เปลี่ยนไปและแนวคิดที่ว่า "การผลิตตามแผนทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น" ก็เริ่มเป็นที่เข้าใจแล้ว และผมยังรู้สึกว่าการแจกแจงความรับผิดชอบอย่างชัดเจนทำให้สามารถขจัดวัฒนธรรม “ความรับผิดชอบของคนอื่น" ที่มักพบเห็นในประเทศไทยได้ ซึ่งนี่เป็นผลดีที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บรรณาธิการ:
วางแผนการในอนาคตไว้อย่างไรบ้าง ?
ประธานยามาชิตะ:
เรามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะเติบโตต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปความท้าทาย คือ การเพิ่มการดำเนินงานของสถานที่ บุคลากรและอุปกรณ์ ควบคู่ไปกับการควบคุมการลงทุน ด้วยการจัดการระบบสำหรับตรวจสอบสถานะปัจจุบันแบบเรียลไทม์ ผมรู้สึกว่าการทำงานด้านการจัดการ เช่น การจัดสรรพนักงานที่เหมาะสมกับงานกลายเป็นเรื่องง่าย ผมจึงคิดว่านี่คือจุดเปลี่ยนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัท