บทความนี้เราได้สัมภาษณ์คุณมาซาอากิ อิชิคาว่า Operating Officer and General Manager เกี่ยวกับระบบการจัดการสินทรัพย์ถาวร"EZDP V3" ที่พัฒนาโดย Material Automation (Thailand) (MAT).
ความเป็นมาของการพัฒนาระบบการจัดการสินทรัพย์ถาวร
บรรณาธิการ:
ความเป็นมาของการพัฒนาระบบการจัดการสินทรัพย์ถาวรมีที่มาอย่างไร ?
คุณอิชิคาว่า:
อันที่จริงระบบการจัดการสินทรัพย์ถาวรของเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมายาวนาน โดยเราเริ่มพัฒนาในปี 2003 ซึ่งระบบบัญชีที่เราใช้บริการอยู่ในขณะนั้นมีการทำงานที่ยอดเยี่ยมก็จริงแต่ก็ไม่มีฟังก์ชันสำหรับการจัดการสินทรัพย์ถาวร จนมีคำขอมากมายเข้ามาจากลูกค้าว่าต้องการที่จะจัดการกับสินทรัพย์ถาวรด้วยระบบบัญชีและสถานการณ์ในขณะนั้นก็มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่มีฟังก์ชันการจัดการสินทรัพย์ถาวรในโปรแกรมบัญชี ดังนั้นหากเรามีระบบเฉพาะสำหรับการจัดการสินทรัพย์ถาวร เราก็จะสามารถนำเสนอระบบนี้ไม่เพียงแต่กับลูกค้าของเราเท่านั้นแต่ยังรวมถึงลูกค้าที่ใช้แพ็คเกจการบัญชีของระบบอื่นด้วย ดังนั้นเราจึงตัดสินใจพัฒนามันขึ้นมา
บรรณาธิการ:
ที่มาของ "V3" ซึ่งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์นั้น บ่งบอกถึงประวัติการพัฒนาและการใช้งานใช่หรือไม่?
คุณอิชิกาว่า:
เวอร์ชันแรกของแพ็คเกจซึ่งวางจำหน่ายในปี 2004 ได้รับการตั้งชื่อว่า "Easy-DP" โดยมีแนวคิดตามชื่อที่ตั้งเลย ซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่า "DP" ก็คือ "ค่าเสื่อมราคา" ดังนั้นจึงเป็นชื่อที่แปลว่า "ค่าเสื่อมราคาเป็นเรื่องง่ายๆ" (หัวเราะ) มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำการคำนวณแบบอัตราเดียวอย่างง่ายๆ เท่านั้น แต่ต่อมาทางบริษัทก็ได้รับคำขอมากมายจากลูกค้าที่ไม่เพียงต้องการแต่การคำนวณอย่างง่ายเท่านั้น แต่ยังต้องการใช้ฟังก์ชันอื่นๆ ด้วย ดังนั้นใน 5 ปีต่อมา เราจึงได้เปิดตัว "Easy-DP Pro" ซึ่งรวมเอาฟังก์ชันการจัดการ BOI สำหรับประเทศไทยและฟังก์ชันที่ช่วยในเรื่องการจัดการสินทรัพย์ของบริษัทแม่และบริษัทในเครือเข้าไว้ด้วยกัน
บรรณาธิการ:
ฟังก์ชันต่างๆ จึงได้ถูกพัฒนาและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช่หรือไม่?
คุณอิชิกาว่า:
ถูกต้องครับ ในเวอร์ชันที่ 2 ของ "Easy-DP Pro" นอกเหนือจากการเพิ่มฟังก์ชันมาตรฐานเข้าไปแล้ว เรายังได้พัฒนาฟังก์ชันเพื่อใช้จัดการกับสินค้าคงคลังได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถสร้างสติกเกอร์ที่มีบาร์โค้ดจากระบบและติดสติ๊กเกอร์บนสินทรัพย์เพื่อจัดการสินทรัพย์นั้นๆ ได้ ซึ่งคุณสามารถสร้างตารางสินค้าคงคลังได้ง่ายๆ เพียงอ่านบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านค่าพกพาเมื่อถึงรอบตรวจสอบรายการสินค้าคงคลัง
นอกจากนี้เรายังตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในเรื่องความยุ่งยากของการจัดการสินทรัพย์ถาวรที่มีจำนวนมากและมีความซับซ้อนโดยเฉพาะในโรงงานที่มีสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก ซึ่งโซลูชันของเราได้รับการประเมินจากลูกค้าว่าเป็นฟังก์ชันที่สะดวกสบาย เนื่องจากมีซอฟต์แวร์ทั่วๆ ไปที่สามารถทำได้เพียงการคำนวณเท่านั้นแต่ฟังก์ชันเกี่ยวกับการจัดการแบบนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นยังไม่พร้อมใช้งาน
บรรณาธิการ:
การพัฒนาเป็นไปอย่างราบรื่นหรือพบเจอกับปัญหาระหว่างการดำเนินงานหรือไม่ ?
คุณอิชิกาว่า:
สำหรับประเทศไทยนั้น การคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเป็นแบบคิดตามสัดส่วน ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณที่ต่างจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้กฎหมายก็ยังมีความคลุมเครือในการตีความและลูกค้าแต่ละที่ก็ใช้วิธีที่ต่างกัน ซึ่งจาก "Easy-DP" ที่ทำการคำนวณรายวันแบบง่ายๆ จนมาถึง "Easy-DP Pro" เราก็ได้ทำการตรวจสอบรูปแบบการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุด จากนั้นจึงค่อยพัฒนา "EZDP V3" ขึ้นมาเพื่อรองรับการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
โดยโซลูชันนี้สามารถใช้ได้กับวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาหลากหลายวิธี เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้งในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านด้วย ดังนั้นจึงทำให้เกิดการแก้ไขและปรับแต่งฟังก์ชันอยู่หลายครั้ง
คุณสมบัติและประโยชน์ของ "EZDP V3"
บรรณาธิการ:
ฟังก์ชันและคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน "EZDP V3" มีอะไรบ้าง ?
คุณอิชิกาว่า:
ฟังก์ชันเพิ่มเติมที่ใหญ่ที่สุด คือ ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรายการที่คำนวณ ตัวอย่าง เช่น ในกรณีของสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศ ราคาซื้ออาจเปลี่ยนแปลงจากเวลาที่บันทึกข้อมูลเนื่องจากความล่าช้าในการแจ้งค่าใช้จ่าย ซึ่งลูกค้าบางรายจะต้องเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาตั้งแต่ที่ซื้อมา จึงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งว่าเราควรทำอย่างไร ในกรณีนี้ ผลิตภัณฑ์มีฟังก์ชันที่สามารถคำนวณค่าเสื่อมใหม่และปรับส่วนต่างของค่าเสื่อมราคาจากเดือนที่ผ่านมาที่คำนวณได้โดยอัตโนมัติในเดือนปัจจุบัน หากคุณใส่ข้อมูลผิดและเพิ่งมาสังเกตเห็นในอีก 2 – 3 เดือนต่อมา คุณก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้เพื่อแก้ไขได้
นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชันนี้เมื่อบริษัทออดิทขอขอให้คุณตรวจสอบปีคงทนตามกฎหมาย (ระยะเวลาตัดจำหน่าย) เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่คุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้เมื่อถูกขอให้เปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา นอกจากข้อดีในเรื่องของการรองรับหลายสกุลเงินและหลายภาษา โซลูชันนี้ยังสามารถใช้งานได้กับบริษัทที่มีสาขาหลายๆ แห่ง ซึ่งทำให้สามารถจัดการบริษัทสาขาและมีฟังก์ชันหลายชั้นที่สะดวกต่อการจัดการภาษีและการบัญชีแยกจากกัน
บรรณาธิการ:
นอกเหนือจากฟังก์ชันแล้วยังมีส่วนอีกที่ถูกพัฒนาอีกหรือไม่?
คุณอิชิกาว่า:
เนื่องจากการสร้างระบบจากเว็บแอปพลิเคชันทำให้สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ผ่านระบบคลาวด์ ซึ่งฟังก์ชันสำหรับการควบคุมภายในยังได้รับการปรับปรุงให้เป็นการล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการเมนูที่จะแก้ไข นอกจากนี้ยังมีการเสนอขายซอฟท์แวร์แบบ Subscription ตามแต่ละระดับของจำนวนสินทรัพย์ จึงทำให้ง่ายต่อการซื้อ
เปิดให้ทดลองใช้ฟรี
บรรณาธิการ:
รายละเอียดเกี่ยวกับบริการทดลองใช้งานฟรีมีอะไรบ้าง ?
คุณอิชิกาว่า:
เราได้เริ่มเสนอให้ทดลองใช้ฟรีเพื่อให้ผู้คนได้รู้จัก "EZDP V3" มากขึ้น สำหรับใครที่จัดการสินทรัพย์ถาวรด้วย Excel หรือสำหรับใครที่กำลังใช้ซอฟต์แวร์อื่นอยู่แล้ว แต่ไม่พอใจกับฟังก์ชันการใช้งาน ก็อยากให้ลองมาใช้ "EZDP V3" กับเวอร์ชันทดลองใช้ฟรีดูครับ โดยจำนวนทรัพย์สินที่ลงทะเบียนได้ จำกัดไว้ที่ 500 และระยะเวลาทดลองใช้จำกัดที่ 2 เดือน แต่คุณสามารถใช้ฟังก์ชันทั้งหมดที่มีในระบบในช่วงนี้ได้ หากคุณลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ MAT เราจะส่ง Licence และชุดคู่มือติดตั้งให้คุณทางอีเมล ซึ่งเรามีวิดีโอสาธิตวิธีการติดตั้งที่โพสต์บน YouTube เวอร์ชันภาษาไทย ดังนั้นจึงสามารถให้พนักงานชาวไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนนี้ศึกษาวิธีการดำเนินงานได้
If you apply through MAT website, we will send you a license and a set of manuals by e-mail from the installer required for installation. There is no Japanese version, but we have a video posted on YouTube for how to. There is also a Thai version, so it would be good for you to ask Thai staff in charge to watch it.
▶คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ถาวร "EZDP V3"
▲“EZDP V3” Instructional Video
บรรณาธิการ:
เมื่อพูดถึงซอฟต์แวร์การจัดการสินทรัพย์ถาวร ผมคิดว่าฟังก์ชันไม่ได้แตกต่างกันมาก แต่ "EZDP V3" ยังมีฟังก์ชันหลากหลายที่สะท้อนถึงความต้องการของลูกค้า รวมถึงการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของประเทศไทยและสามารถทดลองใช้ฟรีเพื่อประเมินก่อนการตัดสินใจซื้อจริงได้ ดังนั้นหากมีความสนใจ ลองติดต่อสอบถามทางบริษัทได้ตลอดวันและเวลาทำการ