คุณฮายาชิจาก Material Automation (Thailand) จะอธิบายเกี่ยวกับแนวทางของ IoT ให้ได้ทราบกัน
Mr. Yasuhiko Hayashi / Senior Manager
Digital Engineering Sales Department
คุณฮายาชิ:
เราให้บริการการพัฒนาระบบ IoT โดยใช้ "ThingWorx" ของ PTC ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว
โดยปัจจุบันเราได้ส่งมอบระบบให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร สถาบันการศึกษา การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโรงไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีพื้นที่ติดตั้งขยายไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น กรุงเทพ บางพลี และระยอง
บรรณาธิการ:
ทำไมถึงเลือกใช้ LOMA จากไทย ทากาซาโกะ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า TT) ?
คุณฮายาชิ:
ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตและมักจะต้องใช้ข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งในกรณีของ TT ไม่เพียงแต่ข้อมูลเครื่องจักรเท่านั้น แต่ยังมีการตรวจสอบการไหลของอากาศโดยทั่วไปด้วย โดยบริษัทนี้จะดูแลระบบปรับอากาศแบบพิเศษซึ่งได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยมาเป็นเวลา 35 ปี และในญี่ปุ่นมานานกว่า 100 ปี อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจแรกของผม คือ การเฝ้าติดตามอุณหภูมิและความชื้นในอากาศและคิดว่าเป็นเพียงระบบธรรมดา แต่เมื่อเห็นระบบที่ส่งไปยังศูนย์ R & D ของ TT แล้วความคิดของผมก็เปลี่ยนไปมาก
เนื่องจากห้องขนาดใหญ่ที่แยกจากกันในโรงงานก็ยังสามารถควบคุมอากาศในห้องให้อยู่ในอุณหภูมิที่สบาย โดยมีเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กมากเพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าผมมีความคิดที่จะขายระบบปรับอากาศนี้และจู่ๆ ก็ไปเยี่ยมลูกค้ารายหนึ่งแล้วพูดว่า "ผมสามารถช่วยลดค่าไฟให้ได้มากนะ" ก็คงไม่มีใครอยากเชื่อเพราะเราไม่สามารถมองเห็นอากาศหรือลมได้ลูกค้าก็คงจะไม่เห็นภาพว่ามันจะเป็นไปได้ยังไง
อย่างไรก็ตามการใช้ LOMA ซึ่งเราเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาทำให้สามารถเห็นสถานะการทำงานของเครื่องปรับอากาศและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละส่วนของห้องได้อย่างง่ายดาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การไหลของอากาศสามารถมองเห็นหรือพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลนั่นเอง นอกจากนี้คำว่า "Visualization" ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไอทีมาหลายปีและตัวผมเองก็รู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่ล้าสมัยไปแล้ว แต่ด้วยระบบนี้ทำให้ visualization กลายเป็นสิ่งที่ทำได้จริง นั่นก็คือ "การแสดงภาพ" ของสิ่งที่เป็นอยู่นั่นเอง
สำหรับ TT ระบบที่เราช่วยพัฒนานี้ ได้วางขายในตลาดประเทศไทยภายใต้ชื่อ "LOMA" โดยเราได้ช่วยเหลือลูกค้าที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ต้องใช้เครื่องปรับอากาศแบบพิเศษ เช่น ห้องควบคุมความชื้นและห้องปลอดเชื้อ อีกทั้งเรายังรู้มาอีกว่าการจัดการเครื่องปรับอากาศโดยใช้ IoT นั้น จะมีผลกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของลูกค้าอีกด้วย ผมจึงรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำระบบนี้ครับ
บรรณาธิการ:
จากข้างต้นที่กล่าวถึงโซลูชันที่เรียกว่า ThingWorx จาก PTC แล้วยังมีโซลูชัน IoT อื่นๆ อีกหรือไม่ ?
คุณฮายาชิ:
ThingWorx เป็นโซลูชันขั้นสูงสำหรับลูกค้า ทำให้ตอนนี้เราเลยกำลังพิจารณาโซลูชันที่สามารถใช้งานในระดับที่เล็กกว่าได้
บรรณาธิการ:
มีระบบอื่น ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT ได้อีกหรือไม่?
Mr. Hayashi:
เทคโนโลยีพื้นฐานของ IoT ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์และเครือข่ายที่เก็บข้อมูล ระบบคลาวด์ที่สร้างระบบบนอินเทอร์เน็ตและแดชบอร์ดที่แสดงและวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวอย่างเช่น ด้วยการรวมแดชบอร์ดเข้ากับระบบบัญชี คุณจะสามารถแสดงค่าใช้จ่าย ยอดขาย กำไร ฯลฯ แบบแยกตามแผนก นอกจากนี้การเชื่อมโยงกับระบบควบคุมการผลิตทำให้สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลการผลิต เช่น หมายเลขการผลิตเบื้องต้น การผลิตสะสมสำหรับเดือนปัจจุบันและการเปรียบเทียบระหว่างการคาดการณ์และจำนวนการผลิตจริงในแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย