คุณรู้หรือไม่ว่า 20-25% ของค่าไฟภายในโรงงานถูกใช้ไปกับคอมเพรสเซอร์?
คอมเพรสเซอร์ที่ใช้มอเตอร์เพื่อสร้างอากาศอัดสำหรับใช้กับอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับการผลิตนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งการตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์จึงมีส่วนช่วยในด้านมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้าสำหรับทั้งโรงงาน
โดยในบทความนี้จะขอแนะนำจุดสำคัญในการประหยัดพลังงานและไฟฟ้าที่สามารถตรวจสอบได้ทันที
มาตรการประหยัดพลังงานสำหรับคอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพในการลดค่าไฟฟ้า!
ในด้านของการประหยัดพลังงานและไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ เราให้ความสำคัญกับรายการต่อไปนี้
1. ปรับแรงดันสำหรับใช้งาน
ใช้คอมเพรสเซอร์ด้วยแรงดันเกินความจำเป็นหรือไม่?
2. ปรับปรุงการรั่วไหลของอากาศ
เกิดการสูญเสียอากาศจากการรั่วไหลจำนวนมากหรือไม่ ?
3. ใช้การหยุดอัตโนมัติและการควบคุมหลายเครื่อง
สามารถลดความสูญเปล่าได้โดยการควบคุมความดันและปริมาตรของอากาศ
4. ทบทวนวิธีการติดตั้ง
ความสูญเปล่าจะลดลงจากการตั้งค่าความดันที่จำเป็นสำหรับแต่ละอาคาร
5. นำอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมาใช้
การควบคุมด้วยเครื่องอินเวอร์เตอร์จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. ดำเนินการบำรุงรักษาอย่างเคร่งครัด
การตรวจสอบและการจัดการไส้กรองรวมถึงตัวแยกน้ำมันเหมาะสมแล้วหรือไม่?
การปรับแรงดันและการลดการรั่วไหลของอากาศเป็นการปรับปรุงที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จากที่กล่าวมาข้างต้นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ทันที คือ
(1) การปรับแรงดัน
(2) ปรับปรุงการรั่วไหลของอากาศ
■ คุณใช้การตั้งค่าความดันที่ตั้งค่าไว้ตั้งแต่เริ่มต้นหรือไม่?
ประการแรก สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่าแรงดันลมออกถูกต้อง แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ แต่การใช้พลังงานสามารถลดลงได้มากถึง 8% เพียงแค่ลดแรงดันลง 0.1 Mpa ซึ่งการใช้พลังงานของคอมเพรสเซอร์จะสูญเปล่าหากตั้งค่าแรงดันขาออกไว้สูงเกินความจำเป็น โดยโรงงานหลายแห่งใช้คอมเพรสเซอร์ด้วยการตั้งค่าเริ่มต้นที่ 0.7 ถึง 0.8 MPa แต่ในหลายกรณีแรงดันที่อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต้องการคือ 0.5 MPa หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หากลดแรงดันด้านจ่ายให้ต่ำลงจนไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ จะสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมากโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง สำหรับเครื่องอินเวอร์เตอร์ขนาด 37kW
กำลังเพลา (กิโลวัตต์)
■ เกิดการรั่วไหลของอากาศหรือไม่ ?
หากมีการรั่วไหลของอากาศจากระบบอากาศอัด เช่น ท่อ วาล์ว ประสิทธิภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์จะลดลง ซึ่งกล่าวกันว่า 10 ถึง 20% ของคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ใช้ในโรงงานมีการรั่วไหลเกิดขึ้นและในประเทศไทยมีกรณีที่อากาศเกิดการรั่วไหลมากถึง 40 ถึง 50% อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ
การตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอย่างสม่ำเสมอและกำจัดการรั่วไหลมีประสิทธิภาพอย่างมากในการลดค่าไฟฟ้าซึ่งพนักงานในโรงงานสามารถตรวจจับได้จากเสียงที่ผิดปกติ การเอามือไปแตะหรือสังเกตการเปลี่ยนสีของผนังบริเวณใกล้เคียงได้ เพื่อให้คำนวณได้แม่นยำยิ่งขึ้น เรามีวิธีคำนวณจากช่วงแรงดัน เวลาและอัตราการทำงาน เป็นต้น
▲ จากการรั่วไหลของอากาศ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานในตอนกลางคืนซึ่งอุปกรณ์และเครื่องจักรไม่ได้ใช้งาน
ไว้วางใจให้เราวินิจฉัยและคำนวณผลการประหยัดพลังงานด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านคอมเพรสเซอร์
หากใช้คอมเพรสเซอร์จำนวนหลายเครื่อง “ระบบควบคุมหลายเครื่อง” จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานตามความต้องการใช้งานอากาศ โดยระบบควบคุมหลายเครื่องจะเลือกจำนวนเครื่องที่เหมาะสมอย่างอัตโนมัติตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณอากาศที่ต้องการ นอกจากนี้ จากการรวมคอมเพรสเซอร์ชนิดอินเวอร์เตอร์เข้าด้วยกันจะทำให้การใช้พลังงานเป็นสัดส่วนที่ตรงกับความต้องการอากาศซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการประหยัดพลังงานลงได้อย่างมาก
อย่างไรก็ตามเพื่อให้รู้ว่า “วิธีใดเหมาะสมกับโรงงานมากที่สุด” และ “คุ้มทุนหรือไม่” จำเป็นต้องเข้าใจสถานะปัจจุบันของการทำงานก่อน นอกจากนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องใส่ใจกับตำแหน่งการตั้งคอมเพรสเซอร์และการทำงานของแผงควบคุมเพื่อเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมกับสถานที่ทำงาน
บริษัท MITSUI SEIKI (THAILAND) ให้บริการตรวจวินิจฉัยคอมเพรสเซอร์ ภายใต้การทำงานของทีมงานมืออาชีพ โดยบริการวินิจฉัยของเราจะวัดสถานะการทำงานของคอมเพรสเซอร์ทุกๆ 1 นาทีเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และสรุปผลลัพธ์เป็นรายงานที่สามารถเข้าใจผลได้ง่ายจากนั้นจึงเสนอวิธีการปรับปรุงที่เหมาะสมสำหรับโรงงานของลูกค้าแต่ละราย
หากคุณประสบปัญหา อาทิ ต้องการประหยัดค่าไฟหรือต้องการรู้ว่าแผงควบคุมมีผลลัพธ์ด้านการลงทุนมากน้อยเพียงใด ตลอดจนต้องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถติดต่อมาที่บริษัทได้ตลอดวันและเวลาทำการ