ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การทำงานระยะไกล กลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากขึ้น การจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบ IT จึงมีความสำคัญตามไปด้วย บริษัท Thai NS Solutions ผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำ ซึ่งจากการให้บริการจัดทำระบบ IT ให้กับลูกค้าจำนวนมาก ทำให้เรารับรู้ถึงปัญหาของลูกค้าที่มีข้อจำกัดในด้าน Infrastructure หรือระบบภายใน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฮาร์ดแวร์เก่าหรือปัญหาการใช้งานซอฟต์แวร์มายาวนานเป็นเวลา 10-20 ปีโดยไม่ได้อัปเดตให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อความปลอดภัยของระบบ IT ภายในองค์กรเป็นอย่างมาก
การรักษาความปลอดภัยของระบบ IT เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก เพราะเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันองค์กรจากภัยอันตรายทางเทคโนโลยีต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
1. ความปลอดภัยด้านกายภาพ หมายถึง ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงระบบในทางกายภาพ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบเซิร์ฟเวอร์ กล้อง CCTV สำหรับตรวจตราเหตุการณ์ต่างๆ ภายในสถานที่นั้น
2. ความปลอดภัยด้าน Network ได้แก่ Firewall Management ที่ทำหน้าที่กั้นระหว่างระบบภายในกับระบบภายนอก เพื่อป้องกันและจัดการคนที่สามารถเข้าถึงระบบภายในได้
3. ความปลอดภัยด้าน Application ในกรณีที่มีการใช้งาน Application นั้น จะต้องมีการจัดการด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลผ่าน Application
4. ความปลอดภัยด้านข้อมูล ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูลที่เก็บอยู่ในทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นในสำนักงานหรือคลาวด์ก็จะต้องมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เช่น การ Backup ข้อมูล การกู้คืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลสูญหาย เป็นต้น
5. ด้านนโยบายความปลอดภัยภายในองค์กร (Security Policy) ในด้านนี้ถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากองค์กรมีการรักษาความปลอดภัยในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาอย่างครบถ้วนแล้ว แต่กลับไม่มีนโยบายการจัดการที่ดี ย่อมส่งผลให้ไม่สามารถจัดการกับความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รวมถึงอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรต่างๆ ผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือคลาวด์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการเรื่องความปลอดภัยของระบบ IT นั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเช่นกัน ดังนั้นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยของระบบ IT ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานด้าน IT ที่ต้องชี้นำและทำให้ผู้นำในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยทางเทคโนโลยีได้
หลักการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประการ
ตั้งแต่ปี 2000 การโจมตีทางไซเบอร์มีความแม่นยำและได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ซึ่งสามารถแบ่งคร่าวๆได้ 3 ช่วง ดังต่อไปนี้
ช่วงที่ 1: ในช่วงปี 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก ช่องทางที่ไวรัสจะแพร่กระจายไปได้ถูกจำกัดอยู่แค่เฉพาะทางคอมพิวเตอร์หรือ USB เท่านั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าใช้ระบบได้ชั่วคราว
ช่วงที่ 2: ในช่วงปี 2010 (พ.ศ. 2553) เป็นช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มมีความแพร่หลายและไวรัสจะมาในรูปแบบของไฟล์แนบทางอีเมล เว็บเถื่อน หรือซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย โดยไวรัสเหล่านี้จะคอยเฝ้าจับตาคีย์บอร์ดของผู้ใช้งานเพื่อขโมยพาสเวิร์ดหรือจับภาพหน้าจอระหว่างใช้งานเพื่อหวังขโมยข้อมูลไปจนถึงแฝงตัวเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการแฮกข้อมูลของคนอื่นต่อไป ซึ่งเมื่อสืบย้อนกลับไปนั้นจะพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัสมักจะเป็นผู้ก่อเหตุ
ช่วงที่ 3: ในช่วง 5 ปีหลังมานี้ การขโมยข้อมูลจะเน้นไปเพื่อหวังผลทางกำไรหรือขโมยข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ โดยจากแบบสำรวจพบว่า บุคคลหรือองค์กรที่ถูกขโมยข้อมูลและถูกเรียกค่าไถ่นั้น มีเพียง 25% ของผู้ที่จ่ายเงินไปแล้วได้ข้อมูลกลับคืนมา