PATLITE บริษัทชั้นนำระดับโลกซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สัญญาณเตือนที่ใช้วิศวกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงในกระบวนการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น มีสาขาอยู่หลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยมีผลิตภัณฑ์อุปกรณ์แจ้งเตือนที่ใช้ในโรงงาน และตอบโจทย์ความต้องการต่ออุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ในวันนี้ทางบริษัทจะมาสาธิตวิธีการนำไฟล์เสียง MP3 ลงในอุปกรณ์สัญญาณเตือนจากบริษัท PATLITE (THAILAND)
สำหรับครั้งนี้ทางบริษัทจะมาสาธิตวิธีการลงเสียงในแต่ละขั้นตอนผ่านอุปกรณ์ตัวอย่างจากทางบริษัทเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าใจ และนำไปใช้งานต่อจากนี้ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยทางเราได้นำมาสาธิตทั้งหมด 3 รุ่น คือ ลำโพงกระจายเสียง MP3 รุ่น BSV (Slim MP3 Voice Annunciator) , ลำโพงเสียงเตือนแบบ Alam รุ่น EHV (Audible Alarm Horn MP3 Voice Annunciator Horn) และไฟสัญญาณเตือนพร้อมเสียง รุ่น LKEH - FV (MP3 Voice Annunciator / Audible Alarm with LED Signal Tower)
สำหรับลำโพงกระจายเสียง MP3 รุ่น BSV ที่มาพร้อมกับดีไซน์บางเฉียบ และมีฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถรองรับไฟล์เสียง MP3 จึงทำให้ได้รับเสียงที่ชัด และมีคุณภาพเมื่อใช้งาน และด้วยขนาดที่มีลักษณะกะทัดรัดจึงทำให้สามารถนำไปติดตั้งได้ตามสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนเสียงได้ง่ายตามความต้องการ
ลำโพงเสียงเตือนแบบ Alam รุ่น EHV คือ ลำโพงฮอร์นขนาดกระทัดรัดพร้อมด้วยระดับการส่งเสียงถึง 110 dB โดยมีโหมดการใช้งานที่สามารถเลือกใช้งานให้ตรงตามจุดประสงค์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโหมดสังเคราะห์เสียงเพื่อให้ได้ยินได้ง่ายขึ้นในโรงงานหรือสถานที่สาธารณะ หรือโหมดอื่นๆที่เพิ่มเติมเข้ามา รวมถึงยังสามารถทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนถึง 4.5G ที่เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานร่วมกับ รถยก, AGV ฯลฯ
ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้นที่มาพร้อมกับลำโพงขนาดใหญ่ สามารถให้เสียงสัญญาณเตือนดังชัดเจน และยังสามารถใช้งานร่วมกับ Playlist Editor เพื่อปรับเปลี่ยนเสียงได้ตามต้องการ นอกจากนี้อีกหนึ่งจุดเด่นของไฟสัญญาณเตือนชนิดนี้ คือ สามารถเลือกสีและจำนวนชั้นไฟได้เองตามความต้องการได้สูงสุดถึง 4 ชั้น ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวก และตอบสนองต่อความต้องการได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการลงนำไฟล์เสียง MP3 ลงในอุปกรณ์ของ PATLITE นั้นสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างครบถ้วนกับความต้องการในแต่ละธุรกิจ
ขั้นตอนที่หนึ่ง : การ Format SD Card
นำ SD Card ที่เตรียมไว้ เสียบเข้าคอมพิวเตอร์ และทำการ Format SD Card โดยเลือก FAT32 กดคลิ๊ก Start แล้วกด OK สำหรับขั้นตอนนี้ได้เลือกใช้ D Card ของทางบริษัท Patlite ซึ่งจะมีความจุอยู่ที่ 2GB
ขั้นตอนที่สอง : การสร้างโฟลเดอร์
ต่อมาคือ การโหลดไฟล์เสียงอุปกรณ์ PATLITE ผ่านโปรแกรม Playlist Editor 2 โดยหลังจากนั้นสร้าง Folder และตั้งชื่อ Folder ว่า Data ไว้ที่หน้า Desktop หลังจากนั้นจึงเตรียมไฟล์เสียง MP3 ที่ต้องการนำลงในอุปกรณ์ PATLITE มาทำการย้ายลงไปใน Folder data ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้
*คำแนะนำ : เมื่อทำการย้ายไฟล์เสียงลงไปใน Folder แล้ว แนะนำตั้งชื่อของไฟล์เสียงด้วยตัวเลข 3 หลัก เช่น 001, 002, 003 เป็นต้น
ขั้นตอนที่สาม : การดาวน์โหลด และขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Playlist Editor 2
เมื่อสร้าง Folder เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไฟล์เสียงบันทึกลงไปใน SD Card จำเป็นต้องทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Playlist Editor 2
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Playlist Editor 2
- ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ New เพื่อเลือกรุ่นที่เราต้องการใช้งาน
- ดับเบิ้ลคลิ๊ก Channel 1 / Phrase 01 เพื่อเลือกเสียง MP3 ที่เราต้องการลงไป โดยในส่วนที่เราจะเลือกเสียง MP3 นั้น อยู่ใน Folder ชื่อว่า data ในหน้า Desktop หลังจากที่เราเลือกเสียงแล้ว ให้กด Save as ชื่อไฟล์คือ playlist.slp ไฟไว้ที่หน้า Desktop
- นำ SD Card ไปเสียบไว้ในคอม หลังจากที่ Format และ Copy ไฟล์ Folder Data และไฟล์ที่เรา Save จาก Playlist ไปไว้ใน SD Card เป็นอันเสร็จ
ขั้นตอนการนำไฟล์เสียงลงอุปกรณ์
- จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย และนำ SD Card เสียบเข้าไปยังอุปกรณ์ที่ต้องการ
- ต่ออุปกรณ์กับพาวเวอร์ซัพพลาย และปิดพาวเวอร์ซัพพลาย ก่อนเสียบ SD Card และหมุนเพิ่มเสียงอุปกรณ์ไว้ในระดับนึง จากนั้นเมื่อเสียบ SD Card จะได้ยินเสียง “ตื๊ด” สั้น 1 ครั้ง และหลังจากได้ยินเสียงนั้น และจ่ายไฟ ให้รอประมาณ 1 นาที จะได้ยินเสียง “ตื๊ด” สั้นอีก 1 ที เมื่อได้ยินเสียงตามนี้แล้ว แสดงว่าการนำไฟล์เสียงลงในอุปกรณ์นั้นสำเร็จแล้ว
การ Re - check ในกรณีที่นำเสียงเข้ากับอุปกรณ์ไม่สำเร็จ- สำหรับกรณีที่นำไฟล์เสียงลงในอุปกรณ์ไม่สำเร็จ จะส่งเสียง “ตื๊ด” ยาว หรือ “ตื๊ด” 3 ครั้ง ซึ่งหมายความว่า ไฟล์เสียง SD Card มีปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ วิธีแก้ไขคือ เช็คขั้นตอนตั้งแต่ต้นว่าถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ คำแนะนำ : ใช้ไฟล์ MP3 ค่าบิตเรท (Bit Rate) ไม่เกิน 128kpbs และไฟล์ MP3 ต้องไม่เกิน 1MB ต่อ 1 ไฟล์
ในส่วนของอุปกรณ์จาก Patlite รุ่นอื่นๆนั้น มีวิธีการลงไฟล์เสียงไม่ต่างกัน แต่ในบางรุ่นจำเป็นต้องทำการดิฟสวิตซ์โหมด เพื่อเปลี่ยนโหมดในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น รุ่น EHV เพื่อเปลี่ยนโหมดกันใช้งานมาเป็นโหมด นอกจากนี้ยังมีส่วนของ รุ่น LKEH - FV จะต้องมีโหมดดิฟสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนโหมดการใช้งานเป็นโหมด MP3 ด้วยเช่นกัน
และนี่คือขั้นตอนนำเสียงจากไฟล์ MP3 ลงไปในผลิตภัณฑ์เสียงสัญญาณเตือนจาก PATLITE ซึ่งทำให้บริษัทผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างเต็มที่ โดยหากท่านใดกำลังมองหาอุปกรณ์แจ้งเตือนภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ไฟสัญญาณเตือนพร้อมเสียง ลำโพงกระจายเสียง ฯลฯ สามารถติดต่อบริษัท PATLITE (THAILAND) ได้ผ่านแบบฟอร์มด้านล่างนี้
Office
Tel: +66(0)2-541-5431
Email: sales_150716@patlite.co.th
Seree Kaewtar (PHET)
Mobile: +66(0)85-310-9541