ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ โรงพยาบาลหลายแห่งได้เริ่มต้นนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ซึ่งการใช้ตู้ KIOSK ร่วมกับสัญญาณไฟเตือนบีคอน รุ่น NE-USB จาก PATLITE (Thailand) ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ และลดความยุ่งยากในกระบวนการลงทะเบียนและรับคิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้ ขอแนะนำตัวอย่างการใช้งานตู้ KIOSK ร่วมกับสัญญาณไฟเตือนบีคอน รุ่น NE-USB จาก PATLITE (Thailand) ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตู้ KIOSK เป็นอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถทำการลงทะเบียนผ่านหน้าจอสัมผัสได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องรอคิวจากเจ้าหน้าที่ จากเดิมในอดีตการลงทะเบียนผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและใช้เวลายาวนาน ส่งผลให้ผู้คนแออัด ซึ่งสิ่งนี้เองไม่เพียงแต่จะสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้ป่วยและญาติเท่านั้น แต่ยังเพิ่มภาระให้กับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลอีกด้วย
ปัญญาที่พบในการลงทะเบียน
・ความล่าช้า
การลงทะเบียนด้วยวิธีแบบดั้งเดิม เช่น การกรอกข้อมูลด้วยมือ หรือการตรวจสอบเอกสารจำนวนมาก ทำให้เสียเวลาในการเข้ารับบริการ
・ความแออัดและพื้นที่ที่จำกัด
ผู้ป่วยและญาติที่ต้องรอคิวเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บริเวณจุดลงทะเบียนแน่นไปด้วยผู้คน สร้างความอึดอัดและความไม่เป็นระเบียบ
・ความเสี่ยงด้านสุขภาพ
ในพื้นที่แออัด และมีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคหรือแพร่กระจายสู่กลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น โรงพยาบาลหลายแห่งได้เริ่มพัฒนาระบบ KIOSK อัตโนมัติ เพื่อรองรับการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ป่วยโดยตรง ระบบนี้ช่วยลดความล่าช้า ลดความแออัด และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้อย่างมีนัยสำคัญ
ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำให้โรงพยาบาลสามารถยกระดับการให้บริการผู้ป่วยให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นยังสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
วิธีการใช้งานตู้ KIOSK สำหรับลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์ที่โรงพยาบาล สามารถใช้ ตู้ KIOSK อัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว โดยที่ตู้ยังติดตั้งระบบไฟสัญญาณเตือน NE-USB ของ PATLITE เพื่อช่วยชี้บ่งสถานะการใช้งานของตู้
• ตู้ที่ว่าง จะมีแสงไฟสีเขียว แสดงสถานะว่าพร้อมให้บริการ
• ตู้ที่กำลังใช้งาน จะเปลี่ยนเป็นแสงไฟสีแดง โดยใช้ไฟสัญญาณเตือนบีคอน NE-USB
ขั้นตอนการใช้งานตู้ KIOSK
1. เสียบบัตรประชาชน
เริ่มต้นด้วยการเสียบบัตรประชาชนที่เครื่อง โดยระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลและเริ่มต้นกระบวนการลงทะเบียน พร้อมกันนั้นไฟสัญญาณ NE-USB สีแดง จะปรากฏขึ้นเพื่อแสดงว่าเครื่องกำลังใช้งานอยู่
2. เลือกรายการบริการ
บนหน้าจอเครื่อง KIOSK จะปรากฏรายการที่จะให้ผู้ใช้งานเลือก เช่น ลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ หรือตรวจสอบสิทธิ์ จากนั้นกรอกเบอร์โทรศัพท์เพื่อยืนยันข้อมูล
3. ยืนยันการใช้สิทธิ์
ตรวจสอบข้อมูลที่กรอกให้ถูกต้อง และกดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ
4. รับใบนำทาง
เมื่อเสร็จสิ้นระบบจะพิมพ์ใบนำทางออกมา เพื่อนำไปยังจุดบริการที่เกี่ยวข้อง
จากขั้นตอนดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการลดเวลาในการรอคอย และสามารถลดภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้
การใช้งานตู้ KIOSK ในโรงพยาบาลสามารถทำให้ผู้ป่วยลงทะเบียน เช็กอิน หรือจองคิวนัดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดเวลารอคอย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังทำให้การดำเนินงานภายในโรงพยาบาลเป็นไปอย่างราบรื่น ต่อไปนี้ขอกล่าวถึงการเปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยในการใช้งานระหว่างการใช้ตู้ KIOSK กับการเข้าคิวด้วยตนเอง
1. ระบบลงทะเบียนด้วยตู้ KIOSK (Kiosk Registration System)
ระบบ KIOSK เป็นระบบอัตโนมัติที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเช็กอินและลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง โดยปกติจะใช้หน้าจอสัมผัสที่ผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูล ยืนยันการนัดหมาย และชำระเงินด้วยตัวเอง
เวลาเฉลี่ยในการใช้งาน: ใช้เวลา 2 ถึง 5 นาทีต่อคน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของข้อมูลที่ต้องการ (เช่น การตรวจสอบข้อมูลประกัน หรือการกรอกข้อมูลเพิ่มเติม)
สำหรับผู้ป่วยที่เคยใช้ระบบหรือมีความคุ้นเคย อาจใช้เวลาเพียง 1 ถึง 2 นาทีเท่านั้น
KIOSK สามารถลดความแออัดในช่วงเวลาที่มีคนหนาแน่นได้ เนื่องจากสามารถให้บริการผู้ป่วยหลายคนพร้อมกันได้
ปัจจัยที่มีผลต่อเวลา: ความคุ้นเคยของผู้ป่วยในการใช้หน้าจอสัมผัส คุณภาพของการออกแบบอินเทอร์เฟซ (คำแนะนำที่ชัดเจน ใช้งานง่าย) ผู้ป่วยอาจต้องสแกนบัตรประชาชนหรือบัตรประกัน
2. ระบบเข้าคิวด้วยตนเอง (Manual Queue System)
การลงทะเบียนด้วยตนเองโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องเข้าคิวที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียน ซึ่งพนักงานจะเป็นผู้กรอกข้อมูลลงในระบบของโรงพยาบาล
เวลาเฉลี่ยในการใช้งาน: โดยเฉลี่ยใช้เวลา 5 ถึง 10 นาทีต่อคน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของความต้องการของผู้ป่วย การตรวจสอบประกัน และประสิทธิภาพของพนักงาน
สำหรับผู้ป่วยใหม่ อาจใช้เวลา 10 ถึง 15 นาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจำเป็นต้องกรอกเอกสารด้วยมือ
การเข้าคิวอาจทำให้เวลารอนานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น
ปัจจัยที่มีผลต่อเวลา: ความพร้อมและความสามารถของพนักงาน จำนวนผู้ป่วยที่มาพร้อมกัน ความซับซ้อนของผู้ป่วย (เช่น ผู้ป่วยใหม่กับผู้ป่วยเก่า หรือผู้ป่วยฉุกเฉิน)
จากการเปรียบเทียบเวลาการใช้งานระหว่างทั้ง 2 ประเภท พบว่าการใช้ระบบลงทะเบียนด้วยตู้ KIOSK (Kiosk Registration System) สามารถช่วยประหยัดเวลา โดยมีเพียงขั้นตอนง่ายๆไม่กี่ขั้นตอน พร้อมกันนั้นยังช่วยลดความซับซ้อนและเวลาในการรอคิว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีคนหนาแน่น อีกทั้งเมื่อนำสัญญาณไฟเตือนบีคอน รุ่น NE-USB มาติดตั้ง ทำให้มองเห็นสัญญาณไฟได้อย่างชัดเจน และผู้ใช้งานรับทราบสถานะของตู้ได้ทันที