Citizen Machinery Asia เป็นผู้ผลิตเครื่องกลึงอัตโนมัติ NC ในประเทศไทย โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 มียอดจัดส่งทั้งหมด 20,000 เครื่อง นอกจากนี้ยังได้เปิดโชว์รูมใหม่เพื่อมอบทางเลือกอื่นๆ ให้กับผู้ใช้งาน เช่น สาธิตการทำงานของเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยได้จัดพิธีเปิดขึ้นที่ Citizen Machinery Asia จังหวัดอยุธยาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา สำหรับในบทความนี้เรามาพร้อมกับรายงานจากพิธีเปิดโชว์รูมและบทสัมภาษณ์ของคุณโคชิอิชิเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
Citizen Machinery Asia ก่อตั้งขึ้นในปี 2544 โดยเป็นฐานของกลุ่มบริษัทในประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกทางบริษัทได้ผลิตสินค้าราคาต่ำและราคากลางเป็นหลักภายใต้แบรนด์ Cincom อย่างไรก็ตามในช่วงที่อุตสาหกรรมยานยนต์เฟื่องฟูและตลาดเครื่องกลึงอัตโนมัติขยายตัวไปทั่วโลกการผลิตเครื่องจักรที่มีรุ่นหลากหลายจึงเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ทางบริษัทยังกำหนดว่าจะใช้ระบบการจัดส่งเครื่องจักรไปยังทั่วโลกไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยหรืออาเซียนเท่านั้น (ถ่ายโอนฟังก์ชันมาจากประเทศญี่ปุ่น) จึงทำให้มีรุ่นของเครื่องจักรและจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งในช่วงเวลา 20 ปีนับตั้งแต่ปี 2544 ได้มีจำนวนการจัดส่งเครื่องจักรไปแล้วถึง 20,000 เครื่อง
ปัจจุบันเราได้จัดส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังยุโรป อาเซียน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่นและทั่วโลก โดยการผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ EV (รถยนต์ไฟฟ้า) ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในอาเซียนและการเติบโตของสาขาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ในเวียดนามทำให้อาเซียนยังคงมีการสภาพคล่องที่ดีในการผลิตเครื่องจักร
คุณโคชิอิชิ กล่าวว่า "นอกจากความต้องการเครื่องกลึงอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นแล้วเรายังได้รับคำร้องขอจากลูกค้าในแถบอาเซียนจำนวนมากอีกด้วย" ซึ่งในโชว์รูมเก่าเราได้มีการทดสอบสมรรถภาพในการกลัดกลึงชิ้นงานและให้การอบรมกับตัวแทนจำหน่ายรวมไปถึงจัด NC School แต่ในโชว์รูมใหม่นั้นเราได้เพิ่มบริการสาธิตโซลูชันอัตโนมัติเข้ามา
นอกจากนี้คุณโคชิอิชิยังกล่าวอีกว่า "เราอยากจะนำเสนอรูปแบบการสาธิตของระบบอัตโนมัติที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การติดตั้งเครื่องมือวัดอัตโนมัติกับเครื่องจักรเพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องมีผู้ควบคุม ซึ่งเราวางแผนที่จะสร้างโชว์รูมที่น่าดึงดูดใจเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้เห็นถึงโซลูชันและสัมผัสถึงฟังก์ชันในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้นนั่นเอง"
จากสถานการณ์ปัจจุบันการล็อกดาวน์ในประเทศจีนส่งผลให้ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังคงส่งมาไม่ถึงประเทศไทยทำให้ทางบริษัทไม่สามารถผลิตเครื่องจักรได้ตามแผนที่กำหนดไว้ และส่งผลให้ต้องขยายเวลาส่งมอบออกไป เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นเช่นนี้ทางบริษัทจึงได้ตัดสินใจขยายโรงงานแห่งใหม่ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่สามารถตอบสนองด้านอุปทานได้ โดยโรงงานแห่งใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้
คุณโคชิอิชิ กล่าวว่า "เราวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนไลน์การผลิตจากเดิมที่มียอดการผลิตรายเดือนอยู่ที่ 250 ยูนิต ไปเป็น 350 ยูนิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตและลดระยะเวลาในการส่งมอบรวมไปถึงตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที"
บริษัท Citizen Machinery จะยังคงมอบคุณค่าจากอาเซียนสู่ทั่วโลกต่อไปด้วย 2 เสาหลักสำคัญคือ การจัดหาโซลูชันแบบครบวงจรและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตซึ่งหมายรวมถึงลดระยะเวลาในการส่งมอบด้วยเช่นกัน
Tel: +662-8216919