มัตสึโมโตะ: คลื่นลูกที่สองซึ่งถาโถมเข้ามาถัดจากวิกฤตค่าเงินบาทก็คือการรุกตลาดอย่างรวดเร็วในประเทศไทยของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเมื่อตอนต้นทศวรรษปี 2000 ครับ ในช่วงนั้นกลุ่มบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เข้ามาที่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องครับ ดังนั้นจึงเป็นการเปิดฉากการต่อสู้ครั้งใหญ่เพื่อแย่งชิงตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัดครับ ถือเป็นยุคที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้นถึงขนาดที่ว่าไม่ฟันเขาเขาก็ฟันเราครับ
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้การปรับตัวให้สอดคล้องกับห่วงโซ่อุปทานของบริษัทยักษ์ใหญ่ถือเป็นเรื่องปกติครับ ผลลัพธ์ที่ได้คือ "ต้องเดินหน้าลูกเดียว" "ต้องลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน" ตอนนี้เหลือแค่ต้องสู้กันแบบซึ่งหน้าเท่านั้นครับ
มัตสึโมโตะ: แม้เราจะสามารถก้าวผ่านยุคสมัยของการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นมาได้แล้ว แต่การทดสอบยังไม่จบเพียงเท่านั้นครับ หลังจากนั้นในปี 2008 ก็เจอกับวิกฤตการณ์ Lehman shock ครับ วิกฤติการณ์การเงินซึงเกิดจากสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกาไม่นานนักก็ส่งผลกระทบมายังธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นจนในที่สุดก็ก่อให้เกิดภาวะเงินทุนขาดแคลนอันเนื่องมาจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ ครับ ถือเป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับวิกฤติค่าเงินบาทในปี 1997 ครับ
ดังนั้นจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิงครับ ในตอนนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ IT (Information Technology) ทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากครับ บริษัทเราแม้จะมีลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมก็ตาม แต่เราก็ใช้วิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับด้าน IT ครับ จึงทำให้เราสามารถกู้คืนสถานการณ์กลับมาในลักษณะเป็นรูปตัว V ได้และทำให้ผมได้เรียนรู้กับคำว่า "วิกฤติก็คือโอกาส" ครับ
มัตสึโมโตะ: วิกฤติการณ์สุดท้ายคือหลังจากนั้น 3 ปีก็เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่กลางปีจนถึงปลายปีของปี 2011 ครับ จากภัยพิบัติดังกล่าวทำให้บริษัทเราได้รับความเสียหายรวมทั้งสูญเสียลูกค้าไปเป็นจำนวนมากครับ เนื่องจากไม่เคยประสบกับภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการผลิตมาก่อน จึงคาดการณ์กันว่าคงมีหลายบริษัทที่ยอมถอนตัวออกไปจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นครับ
ทั้งนี้ผลลัพธ์กลับแตกต่างออกไป แต่ละบริษัทกลับมีความต้องการที่จะฟื้นฟูกิจการให้กลับมาผลิตได้ในเร็ววันครับ ไม่ใช่เอาแต่คิดว่า "จะทำอย่างไร" กับสิ่งที่เสียไปแล้วดี แต่ทุกคนคิดเหมือนกันว่า "จะลองสู้ใหม่อีกครั้ง" ครับ การคิดว่า "จะพยายามใหม่อีกครั้ง" หลังจากที่ได้รับความเสียหายถือเป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะนั่นจะทำให้เรารู้สึกอยากที่จะฟื้นฟูให้กลับคืนมาดังเดิมครับ
เมื่อวันที่ 11 มีนาคมของปีนี้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นครับ ทำให้แต่ละพื้นที่ของญี่ปุ่นได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ ในตอนนั้นประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งมอบความช่วยเหลือไปให้ครับ คราวนี้จึงเปรียบเสมือนกับเป็นการตอบแทนจากประเทศญี่ปุ่นให้กับประเทศไทย บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่กำลังพื้นฟูกิจการทั้งหลายคงจะคิดแบบเดียวกันครับ แม้ว่าเราจะเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น แต่เราก่อตั้งในประเทศไทย ดังนั้นจึงถือเป็นบริษัทของไทยที่ทำธุรกิจเพื่อพนักงานชาวไทยครับ
มัตสึโมโตะ: เราสร้างอาคารสำนักงานของบริษัทที่กรุงเทพมหานครเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2014 ถือเป็นบ้านหลังแรกของเราหลังจากที่คอยเช่าคนอื่นเขามานานครับ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่นึกขึ้นมาได้ในวันที่ทำพิธีเปิดทั้งเรื่องความยากลำบากที่ผ่านมา ในที่สุดเราก็สามารถเอาชนะและก้าวข้ามความลำบากนั้นมาได้แล้วครับ
จากเดิมที่เคยมีพนักงานเพียงแค่ 7 คนจนในตอนนี้มีเกือบ 40 คนและสามารถขยายสาขาไปที่เชียงใหม่และศรีราชาได้แล้วครับ มีพนักงานหลายท่านที่เติบโตมาด้วยกันครับ เรามุ่งเป้าที่จะสร้างตลาดใหม่ในท้องถิ่นในโอกาสที่เข้าสู่ปีที่ 20 นับจากการก่อตั้งบริษัทครับ
Bangkok Head Office
Tel: +66(0)2-319-8180
Email: utc@ueno.co.th
Shiracha Branch
Tel: +66(0)98-281-1050
Email: sriracha@ueno.co.th
Chiang Mai Branch
Tel: +66(0)53-141-062
Email: chiangmai@ueno.co.th
Contact person
ITTI
Mobile: +66(0)81-831-4976
Email: itti@ueno.co.th