ไม่รู้ไม่ได้! ความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สำคัญยิ่งในการจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมการผลิต - ตอนที่ 1
29/10/2024
HARUHISA YAMADAのアバター画像
HARUHISA YAMADAPresident

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคำว่า "Traceability" ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจถึงแนวคิดและวิธีนำไปใช้ การตรวจสอบย้อนกลับมีความจำเป็นกับอุตสาหกรรมการผลิต และมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ บทความเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จะพูดถึงแนวคิดของการตรวจสอบย้อนกลับ และสาเหตุของการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น

การตรวจสอบย้อนกลับ

การตรวจสอบย้อนกลับคืออะไร?

กล่าวได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมการผลิตจะต้องเคยได้ยินคำว่า "Traceability" สักครั้งหนึ่ง แต่ถ้าถามว่า "การตรวจสอบย้อนกลับคืออะไร" น่าจะเป็นเรื่องยากที่ใครจะอธิบายได้อย่างละเอียด
การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เป็นคำศัพท์ที่เอาภาษาอังกฤษคำว่า "Trace" กับ "Ability (possible)" มารวมกัน และมีความหมายว่า "Pursuit possible" เป็นแนวคิดและวิธีการในการติดตามชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยการใช้หมายเลขล็อต หรือ บาร์โค้ด ฯลฯ ในการติดตามชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์นั้นว่าได้ถูกผลิตขึ้น "เมื่อไหร่" "ที่ไหน" "ใคร" (โดยใคร) โดยทั่วไปในขั้นตอนการผลิดผลิตภัณฑ์จะต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การประกอบ และขนส่งให้แก่ลูกค้า (ส่งมอบ) ซึ่งความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับของชิ้นส่วนหรื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนนั้นได้ จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตใดๆ เช่นในอุตสาหกรรมอาหารหรือผลิตภัณฑ์ (อุตสาหกรรม) อื่นๆ ก็ตาม


การตรวจสอบย้อนกลับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น

โรค Bovine Spongiform Encephalopathy (BSE) ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่าโรควัวบ้าที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้นเหตุทำให้การใช้วิธีการตรวจสอบย้อนกลับในญี่ปุ่นแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหา BSE ในโคนมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2546 ทำให้หลายประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น ใช้มาตรการห้ามนำเข้าและส่งออกเนื้อวัว (ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นยกเว้นข้อห้ามนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์จากวัวที่มีอายุน้อยกว่า 30 เดือน)

การตรวจสอบย้อนกลับ

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการตรวจสอบย้อนกลับ มีการออกกฎข้อบังคับที่เรียกว่า “ข้อบังคับพิเศษว่าด้วยเรื่องการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการระบุประวัติวัว (ชื่อย่อ Cattle Traceability Law)” ซึ่งต้องมีการจัดเก็บข้อมูล อาทิ วันเดือนปีเกิด เพศ ผู้เลี้ยง โดยประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 (ข้อบังคับในการแปะป้ายแสดงลงบนผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ฯลฯ มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2547 ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้คำว่า “Traceability” เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น


การตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมการผลิต

ประวัติศาสตร์ของการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมการผลิตเกิดขึ้นมานานแล้ว และคงต้องย้อนกลับไปที่ช่วงก่อนสงครามโลกด้วยซ้ำ ในยุคก่อนสงครามโลก อุตสาหกรรมในญี่ปุ่นได้นำเอาวิธีการทำหมายเลขชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์มาช่วยในการบริหารจัดการการผลิต และวิธีการดังกล่าวก็ยังคงใช้กันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกล่าวได้ว่านั่นคือพื้นฐานของหลักการการตรวจสอบย้อนกลับในปัจจุบัน การบริหารจัดการหมายเลขการผลิตเป็นวิธีการระบุหมายเลขการผลิต (หมายเลขการผลิต) ลงบนผลิตภัณฑ์ที่มีวิธีการผลิตแบบเดียวกัน ซึ่งหมายเลขการผลิตจะช่วยในการควบคุมกรรมวิธีการผลิต เป็นระบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมผลิตแบบ build-to-order ในขณะเดียวกัน มีระบบตัวเลขดูแลจัดการจำนวนเครื่องจักร ซึ่งระบบนี้เป็นวิธีการจัดการจำนวนเครื่องจักร ด้วยวิธีการระบุตัวเลขลงบนเครื่องจักรแต่ละเครื่อง (เครื่องจักรที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า) ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินนั้น ระบบนี้สำคัญมาก ซึ่งเป็นวิธีบริหารจัดการจำนวนชิ้นส่วนในเครื่องจักรแต่ละเครื่องที่ขาดไปไม่ได้เลย


เหตุผลที่ทำไมการตรวจสอบย้อนกลับได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมการผลิต

หลายๆ ครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ หรือปัญหากับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แก๊สภายในบ้านตามที่เป็นข่าว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลายกรณีที่มีการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหาแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม อุตสหากรรมการผลิตหันมาให้ความสำคัญในการมีจิตสำนึกคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และความเข้มงวดในเรื่องนี้ก็เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบย้อนกลับชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับเป็นอย่างมาก ยิ่งเป็นการส่งออกสินค้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบยุโรป ก็จะยิ่งเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพราะว่าหากเกิดความผิดปกติ หรือความบกพร่องในสินค้าขึ้นมา แต่ผู้ผลิตกลับไม่มีมาตรการรับมือที่ทันท่วงที แน่นอนว่าความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีให้ก็จะลดลง อีกทั้งนำมาสู่มูลค่าความเสียหายที่ต้องชดใช้ที่เป็นผลกระทบต่อองค์กรนั่นเอง

อาจจะกล่าวได้ว่าการตรวจสอบย้อนกลับเป็นมาตรการป้องกันตัวเองที่ช่วยปกป้องธุรกิจและองค์กร นอกจากนั้น ช่วยสร้างความอุ่นใจในการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วยเช่นกัน


ครั้งต่อไปเราจะอธิบายเกี่ยวกับการนำการตรวจสอบย้อนกลับไปใช้ และวิธีการใช้โดยละเอียด

สำหรับบรรดาผู้อ่านที่คิดว่า “ทนรออ่านคอลัมภ์หน้าไม่ไหวแล้ว!” โปรดหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
"การระบุหมายเลขของชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ทำเครื่องหมายสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับอัตโนมัติ GRAVOTECH"
"ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดถือว่าเป็นหน้าที่พึงปฏิบัติของแผนกการทำเครื่องหมาย"


สุดท้ายนี้ หวังว่าจะได้พบกันใหม่ในครั้งต่อไป

ติดต่อเรา

กรุณาติดต่อเราในฟอร์มด้านล่าง
Loading...