ไม่รู้ไม่ได้! ความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) สำหรับการบริหารจัดการด้านคุณภาพในอุตสาหกรรมการผลิต - ตอนที่ 2
29/10/2024
HARUHISA YAMADAのアバター画像
HARUHISA YAMADAPresident

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาคำว่า การตรวจสอบย้อนกลับ "Traceability" ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในบทความตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงแนวคิดกันไปแลว ในบทความตอนที่ 2 นี้จะพูดถึงรายละเอียดของการตรวจสอบย้อนกลับแบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้น เช่น การส่งข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้สัญลักษณ์ประจำตัว วิธีการทำเครื่องหมายลงบนชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์โดยตรง จากนั้นก็จะพูดถึงการตรวจสอบย้อนกลับแบบ Trace Back และ Trace Forward ไปจนถึงผลลัพท์จากการนำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้

การตรวจสอบย้อนกลับ

ในบทความก่อนหน้านี้ได้พูดถึงแนวความคิดของการตรวจสอบย้อนกลับว่าชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์จะถูกติดตามเพื่อค้นหาว่าผลิต "เมื่อไหร่ ที่ไหน ใคร (ใครเป็นผู้ผลิต)" และรวมไปถึงสาเหตุที่การตรวจสอบย้อนกลับแพร่หลายในญี่ปุ่น ในครั้งนี้ เราจะอธิบายถึงการดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับแบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้น


การส่งต่อข้อมูลที่เป็นดั่งกุญแจสำคัญในการตรวจสอบย้อนกลับ

“กุญแจสำคัญ” ในการตามหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดในการผลิต หรือปัญหาที่เกิดในสินค้านั้น คือ สินค้า และ “ข้อมูล” ที่เกี่ยวข้องกับอะไหล่ที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นๆ ดังนั้น การกรอกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้น อาทิ สถานที่รับสินค้า วันเวลาที่ผลิต สายการผลิต รวมไปถึงสถานที่จัดส่งสินค้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

ข้อมูลที่จำเป็น ก็คือ เครื่องหมายระบุที่มาข้อมูล อาทิ บาร์โค้ด โค้ดสองมิติ (คิวอาร์โค้ด DataMatrix MaxiCode PDF417 ฯลฯ) ซึ่งนำมาใช้เพื่อการส่งต่อข้อมูลต่อไป แต่ข้อจำกัดของบาร์โค้ด คือ จำนวนข้อมูลที่สามารถบันทึกได้ถูกกำหนดไว้เพียงแค่ไม่กี่สิบตัวอักษร ในขณะที่โค้ดสองมิติสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุดประมาณ 3,000 ตัวอักษร ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสกะทัดรัด ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน


การตรวจสอบย้อนกลับ

(จากซ้ายมือ) บาร์โค้ด, คิวอาร์โค้ด, PDF417


การทำเครื่องหมายชิ้นส่วนโดยตรง "Direct Parts Marking" ซึ่งเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นของการตรวจสอบย้อนกลับ

จะทำอย่างไร หากสินค้าเป็นอะไหล่ หรือ ชิ้นส่วน ที่ไม่มีพื้นที่เพื่อติดป้ายบอกข้อมูลจำพวกบาร์โค้ด หรือ เลขอนุกรม (Serial Number) ? สิ่งที่จะถูกนำมาใช้ก็คือ Direct Parts Marking (DPM) DPM เป็นวิธีการที่พิมพ์และทำเครื่องหมายข้อมูลลงบนชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์โดยตรง โดยใช้เลเซอร์และหมุดจุด ปัจจุบันเป็นวิธีการทีสำคัญและจำเป็นต่อการตรวจสอบย้อนกลับเป็นอย่างยิ่ง


Trace Back และ Trace Forward

Trace Back และ Trace Forward

การตรวจสอบย้อนกลับประกอบด้วย "Trace Back (Retroactive)" และ "Trace Forward (Pursuit)" Trace Back หมายถึงการติดตามบันทึกประวัติการเคลื่อนที่ของผลิตภัณฑ์ย้อนหลังตามช่วงเวลา ในทางกลับกัน Trace Forward หมายถึงการติดตามผลิตภัณฑ์ไปตามกาลเวลา


◆Trace Back (Retroactive)

แม้ปัญหาในตัวผลิตภัณฑ์จะเกิดตอนที่ผลิตหรือจัดส่งสินค้าไปแล้ว หากข้อมูลของชิ้นงานนั้นๆสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ จะทำให้สามารถระบุแหล่งที่มา (Trace Back) ของชิ้นงานรวมถึงกระบวนการผลิตซึ่งงจะนำไปสู่การค้นพบสาเหตุของปัญหา ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที เมื่อการแก้ปัญหาทำได้ทันเวลาทำให้สามารถลดผลกระทบจากปัญหาทำให้เกิดความเสถียรภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ เมื่อข้อมูลสาเหตุของการเกิดปัญหาและการแก้ไขที่ได้ผลถูกแจ้งให้แก่ผูบริโภคได้ทราบ ทำให้สินค้ามีความหน้าเชื่อถือในการใช้งานต่อไป

Trace Back และ Trace Forward


◆Trace Forward (Pursuit)

เมื่อพบว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบย้อนกลับแบบ Trace Forward จะสามารถระบุผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถรวบรวมผลิตภัณฑ์ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของกระบวนการผลิต ให้ประสิทธิภาพในสองเรื่องหลักๆ นั่นก็คือ สามารถค้นหาและเรียกคืนสินค้าที่มีตำหนิ และช่วยร่นระยะเวลาที่ต้องเสียไปในการแก้ปัญหาได้

Trace Back และ Trace Forward


กระบวนการของระบบตรวจสอบย้อนกลับ

ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายถึงวิธีการตรวจสอบย้อนกลับ โดยจะยกตัวอย่างการนำไปใช้และการปฏิบัติจริงในกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในโรงงานทั่วไป


กระบวนการของระบบตรวจสอบย้อนกลับ


การตรวจสอบย้อนกลับ ถูกนำไปใช้ปฎิบัติจริงตามข้างต้น หากการตรวจสอบย้อนกลับได้ถูกนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่เพียงแต่ช่วยในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสามารถในการจัดการชิ้นส่วนที่สั่งผลิตกับผู้ผลิตรายย่อยได้อีกด้วย


สถานะในการตรวจสอบย้อนกลับของประเทศไทยในปัจจุบัน

เมื่อถามถึงสถานะในการตรวจสอบย้อนกลับของอุตสาหกรรมการผลิตไทยในปัจจุบัน น่าเสียดายที่ยังมีคนจำนวนไม่มากนัก ที่เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างถ่องแท้และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะนำการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในองค์กรนั้น เนื่องจากผู้มีหน้ารับผิดชอบแต่ละคนมีความจำเป็นต้องตรวจสอบตั้งแต่รูปแบบ แผนการณ์ รวมไปถึงการเลือกเครื่องมือ เวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตแต่ละบริษัท มีมาตรการรองรับเฉพาะสินค้าของตนเองเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรวม อุปกรณ์มาร์คกิ้ง ผู้นำ และวิศวกรรมเอาไว้ด้วยกันได้ ยากต่อการสร้างระบบการดูแลจัดการการทำงานที่มีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติก็อาจไม่ทันท่วงที


การนำเสนอการให้บริการเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจสอบย้อนกลับจากผู้ผลิต Yamada สาขาในประเทศไทย

บริษัท Yamada มีความเชี่ยวชาญเป็นเศษในการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องแสตมป์ชิ้นงาน รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการทำเครื่องหมายสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ บริษัทยังร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องมือทำสัญลักษณ์ DPM ชั้นนำรายอื่นๆ รวมถึงผู้ผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ ตั้งแต่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านสัญลักษณ์ และอุปกรณ์ทำสัญลักษณ์ รวมไปถึงระบบที่ใช้ดูแลจัดการข้อมูล เรียกได้ว่าเป็นศูนย์บริการแบบครบวงจร (One stop service) เราให้บริการแก่ลูกค้าโดยนำเสนอระบบที่ “น่าเชื่อถือ” “เรียบง่าย” และ “สมเหตุสมผล” โดยวิเคราะห์จากปัจจัยของลูกค้า อาทิ วัตถุดิบของงาน กระบวนการผลิต ซึ่งแน่นอนว่าบริการหลังการขายของเราจะตอบโจทย์ทั้งหมดเช่นกัน


สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม บริษัทของเรายินดีให้บริการด้วยความจริงใจ


Yamada Machine Tool Thailand
Tel : 038-215784
Mobile : 089-788-2508(YAMADA)
Email : haru@ymtt.co.th


ติดต่อเรา

กรุณาติดต่อเราในฟอร์มด้านล่าง
Loading...