ตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตของไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญและปัญหาการเพิ่ม-ลงของปริมาณคำสั่งซื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ระบบการผลิตที่ไม่ต้องพึ่งพาแรงงานคนและเปลี่ยนไปสู่ระบบการทำงานอัตโนมัติ (FA) หรือการรวมกระบวนการได้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บริษัท YAMADA Machine Tool (Thailand) จึงขอนำเสนอวิธีการเปลี่ยนไปสู่ระบบการทำงานอัตโนมัติหรือ FA ซึ่งเป็นระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยการใช้ประสบการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการเฉพาะกลุ่ม
ปัจจุบัน ปัญหาด้านแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยซึ่งประสบปัญหาอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่นั้น แบ่งเป็น 2 ประการ ดังนี้
การทำงานโดยใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและการจ้างแรงงานตามปกติก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน
แรงงานที่ได้รับการอบรมเป็นระยะเวลานานไม่ได้กลับเข้ามาทำงานเนื่องจากการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตลดลงและทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์แย่ลงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้เป็นที่ทราบกันดีกว่า การรักษาแรงงานไว้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แม้แต่ในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ ก็ตาม ดังนั้นการมีกระบวนการผลิตที่มีเสถียรภาพทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพจึงถือเป็นข้อได้เปรียบในฐานะซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานจะได้รับการแก้ไขด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น หุ่นยนต์ ซึ่งในหลายกรณี “การเปลี่ยนจากแรงงานคนไปสู่หุ่นยนต์” มักมีคำถามเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งสิ่งนี้เองกลายเป็นสาเหตุที่หลายบริษัทไม่สามารถดำเนินการต่อได้
ในเวลาเช่นนี้ เราจึงได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นของการสร้างมูลค่าเพิ่มรอง นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลักโดยการปฏิรูปกระบวนการที่มาจากการเข้าใจปัญหาของลูกค้าจากมุมมองของคนภายนอกและสร้างข้อเสนอที่เหมาะสม
ยกตัวอย่าง เช่น
ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ขนส่งสินค้าบนพาเลทได้
วัตถุประสงค์หลัก :แก้ปัญหาแรงงานด้วยหุ่นยนต์
การปฏิรูปกระบวนการ :เปลี่ยนการถ่ายโอนแบบปกติเป็นการถ่ายโอน Layer
มูลค่าเพิ่มรอง : ทำงานเร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดส่งได้อย่างมาก
อัตราการเปลี่ยนผู้ควบคุมเครื่องจักรสูงและไม่สามารถได้รับการอบรมการทำงานได้ทัน
วัตถุประสงค์หลัก : :เปลี่ยนงานติด/ถอดชิ้นงานและตรวจสอบระหว่างกระบวนการไปเป็นงานแบบไม่ต้องใช้แรงงานคน
การปฏิรูปกระบวนการ :ส่ง Feedback ของการตรวจสอบระหว่างกระบวนการไปยัง NC ของเครื่องจักรและแก้ไขพารามิเตอร์การตัดเฉือนอย่างอัตโนมัติพร้อมกับส่งออกบันทึกผลการตรวจสอบ
มูลค่าเพิ่มรอง :สร้างข้อมูลสถิติของผลการตรวจสอบอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้การตัดสินจากดุลยพินิจของมนุษย์และแสดงข้อมูลสถิติอายุการใช้งานของเครื่องมือได้
ทั้งนี้การผสมผสานของผลลัพธ์รองที่ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนในด้านแรงงานเพียงอย่างเดียว เช่น การทำงานที่มั่นคงได้ในระยะยาวและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ทำให้เรามีส่วนร่วมไม่ใช่เพียงแค่การลดต้นทุนเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน
ที่บริษัท YMTT เราได้ให้โอกาสทางการศึกษาและการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาวิศวกรที่ยอดเยี่ยม โดยวิศวกรท้องถิ่นจะได้รับการอบรมจากวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ประจำการในประเทศไทยทำให้สามารถรองรับการทำงานกับผู้ผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นได้ทั้งหมดและสามารถตอบสนองคำร้องขอของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
อีกทั้งยังมีลูกค้าหลายรายในประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มใช้งานหุ่นยนต์เป็นครั้งแรก ซึ่งบริษัท YMTT ก็พร้อมนำเสนออุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างเสถียร ยาวนานและทนทานโดยไม่ตัดรายละเอียดที่ยากต่อการคำนวณราคาออก