ประโยคที่ว่า "ลมอัด" เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในโรงงาน เป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงแม้แต่น้อยเพราะหากละเลยการบำรุงรักษาปั๊มลม (Air Compressor) แล้วอาจจะส่งผลให้มีความเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่คาดคิดเนื่องจากการหยุดทำงานของเครื่องจักรได้ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ในบทความนี้ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท Mitsui Seiki (Thailand) เราจึงขอแนะนำการบำรุงรักษาแอร์คอมเพรสเซอร์ที่สามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดาย
หากไส้กรองสกปรกด้วยน้ำมันหรือฝุ่นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงและกินไฟฟ้าเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้นยังทำให้เกิดปัญหา เช่น การบีบอัดไม่เพียงพอและใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีสถานที่หลายแห่งที่ใช้คอมเพรสเซอร์ที่เกิดปัญหาขัดข้องภายในตัวเครื่องแต่การทำงานยังไม่เกิดความผิดปกติ
ความถี่ในการทำความสะอาดที่แนะนำขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการใช้งาน อย่างไรก็ตามสำหรับโรงงานที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ขอแนะนำให้ตรวจสอบทุกวันและทำความสะอาดตัวกรองเป็นประจำ
ควรตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอและถึงแม้ว่าการตรวจสอบจะทำได้ง่ายแต่การตรวจสอบมาตรน้ำมันมักถูกมองข้าม ซึ่งหากน้ำมันไม่เพียงพออาจจะนำไปสู่ความเสียหายใหญ่ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบปริมาณน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ โดยทำการตรวจสอบก่อนเริ่มงานทุกครั้ง นอกจากนี้ จากการบันทึกค่าการทำงานจะทำให้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยและความผิดปกติได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังป้องกันความเสียหายที่ใหญ่โตได้
การรั่วไหลของอากาศทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า กล่าวคือ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเช่นกัน ดังนั้นควรซ่อมแซมทันทีหากพบว่ามีอากาศรั่ว
โดยเราขอแนะนำให้ใช้เทปซิลิโคน LLFA® เพื่อซ่อมแซมการรั่วไหลของอากาศ โดยมีคุณสมบัติที่ใช้งานง่ายและทนทาน
✓ สามารถซ่อมแซมได้โดยไม่ต้องหยุดการผลิต
✓ ไม่จำเป็นต้องมีทักษะหรือความรู้ในการใช้งาน
✓ ใช้ความต้านทานความร้อนและความเย็น ทำให้รองรับการรั่วไหลของอากาศ น้ำและไอน้ำ
✓ มีอายุการใช้งานกว่า 20 ปี สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานและเหมาะสำหรับใช้งานในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
ในสายการผลิตจำนวนมากพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหามักมาจากการลืมเปลี่ยนไส้กรอง ซึ่งเราขอแนะนำให้เปลี่ยนไส้กรองทุก 6 - 10 เดือน (1,000 ชั่วโมง) โดยผู้ใช้งานทุกคนสามารถเปลี่ยนแผ่นกรองได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ควรตรวจสอบช่วงเวลาที่เปลี่ยนไส้กรองครั้งล่าสุดก่อนเป็นอันดับแรกอีกด้วย
นอกจากนี้ หากค่าของมาตรวัดแรงดันลดลง 10% ขึ้นไปหรือหากเกิดน้ำมันรั่วจาก Push pin ของไส้กรอง แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องดำเนินการเปลี่ยนไส้กรองแล้ว
ถึงแม้จะดูเป็นงานเล็กๆ แต่โรงงานงานผลิตต่างๆ กลับไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ นอกจากนี้เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพและป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิด คุณอาจจะต้องทบทวนวิธีการใช้คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง