บทความฉบับที่ 6 เป็นเรื่องของการปรับการผลิตให้สม่ำเสมอ แม้ TPS จะเป็นวิธีการผลิตที่ดี
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถผลิตชิ้นงานที่มีรูปแบบและปริมาณที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการปรับการผลิตให้มีความสม่ำเสมอ
ส่วนใหญ่การผลิตในไลน์การประกอบรถยนต์จะเป็นการผลิตแบบผสม โดยใน 1 ไลน์จะมีการประกอบรถยนต์ประเภทต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้วิธีการแบ่งสัดส่วนปริมาณการผลิต, ประเภทและเกรดของรถยนต์ที่ผลิตใน 1 วัน หรือภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้สามารถจัดสรรพนักงานได้ตลอดทั้งเดือน เพื่อให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยวิธีการดังกล่าวนี้ เราเรียกว่าการปรับการผลิตให้สม่ำเสมอนั่นเอง
ในการผลิตรถยนต์ยังมีรูปแบบของการผลิตตามลำดับด้วยเช่นกัน สามารถช่วยลดความผันผวนของกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด ได้ด้วยการป้อนชิ้นงานที่แตกต่างกันและไม่ทำการผลิตรถยนต์ประเภทหรือเกรดเดียวกันอย่างต่อเนื่อง
จากการปรับการผลิตให้สม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถลดการสูญเสียความสมดุลของไลน์การประกอบให้น้อยที่สุดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลด ชิ้นงานระหว่างกระบวนการได้อีกด้วย
เนื่องจากมีข้อดีมากมาย ดังนั้น กระบวนการประกอบจึงควรมีการปรับการผลิตให้สม่ำเสมอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวนการประกอบ สามารถทำได้ คือ ไม่มีการเปลี่ยนรุ่นนั่นเอง (การเปลี่ยนแปลงประเภทของชิ้นงาน) แม้จะมีความแตกต่างทางด้านเวลาที่ใช้ในการประกอบอยู่บ้าง แต่หากจัดเตรียมชิ้นส่วนไว้พร้อมแล้วก็สามารถทำการประกอบได้ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใดก็ตาม ทั้งนี้ในกระบวนการแปรรูปนั้น เนื่องจากจำเป็นต้องตั้งค่าการเปลี่ยนรุ่นในเครื่องจักร ดังนั้น การผลิตแบบล็อตขนาดเล็ก จึงถือเป็นกุญแจที่สำคัญในการปรับการผลิตให้สม่ำเสมอ หากสามารถผลิตในรูปแบบของล็อตขนาดเล็กได้มากเท่าใดก็หมายความว่าเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนรุ่นน้อยมากเท่านั้น ซึ่งวิธีการลดเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนรุ่นนั้น จะขอกล่าวในโอกาสถัดไป
<การประชุมเพื่อให้คำปรึกษาผ่านทาง Web (ไม่มีค่าใช้จ่าย)>
คุณ Terada ที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ "วิธีการผลิตแบบ Lean และ TPS" จะเข้ารับฟังปัญหา ของผู้เข้าร่วมและให้คำแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
หากท่านต้องการสมัครเข้าร่วม กรุณากรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มด้านล่าง
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา