การฝึกอบรมสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละระดับJMAC เสนอโปรแกรมการฝึกอบรมที่หลากหลายสำหรับบุคลากร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง เจ้าหน้าที่และพนักงานฝ่ายผลิต โดยมีเนื้อหาตั้งแต่ด้านการจัดการไปจนถึงทักษะที่จำเป็นในหน้างาน หลังจากแชร์ประเด็นปัญหาที่กำลังเผชิญในแต่ละประเภทงาน-ธุรกิจ หรือจากตัวผู้ที่จะเข้ารับการอบรม โปรแกรมการฝึกอบรมจะได้รับการออกแบบและปรับแต่งตามความต้องการที่แท้จริง
การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมและการปฏิรูปการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทญี่ปุ่นหลังจากที่สั่งสมประสบการณ์มามากมาย พนักงานคนไทยรุ่นแรกก็เริ่มจะถึงเวลาเกษียณ รวมถึงมีแรงกดดันตลอดเวลาเกี่ยวกับการลดจำนวนคนญี่ปุ่นที่มาประจำในท้องถิ่น สามารถกล่าวได้ว่าการผลักดันให้เป็น localization เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วน JMACสนับสนุนให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรไม่เพียงแต่จะปรับเปลี่ยนทีมในองค์กรเท่านั้น แต่ในท้ายที่สุดจะทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงกลไกการทำงานด้วย
ช่วยเหลือในการบูรณะใหม่ระบบงานบุคคลเป็นกลไกพื้นฐานเพื่อให้เกิดสภาพที่ควรจะเป็นของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรวมถึงพัฒนาทักษะของพนักงาน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ผลสัมฤทธิ์ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งกำหนดธุรกิจหรือวิธีการจัดการโดยอ้างอิงจากกลยุทธ์ที่กำหนด กำหนดบทบาทของพนักงานแต่ละคนซึ่งถูกกำหนดเป็นรูปธรรมในกรอบของระบบการให้เกรด ระบบตำแหน่งและระบบประเมินบุคลากร พร้อมทั้งมีการสะท้อนการพัฒนาขีดความสามารถ ผลตอบแทน ฯลฯ เข้าไปในระบบด้วย
TPM+ Smart MaintenanceTPM (Total Productive Maintenance) เป็นวิธีการจัดการเพื่อสร้างระบบและโครงสร้างสำหรับดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการไคเซ็นงาน-ไคเซ็นเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างโครงสร้างที่สามารถรักษาผลกำไรของธุรกิจ การผลิตที่ยั่งยืน(สร้างโครงสร้างที่ทำกำไร) นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีค.ศ.1971 ก็ได้รับผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในพื้นที่ประมาณ 3,000 แห่งในญี่ปุ่นและทั่วโลก TPM สร้าง "ระบบการผลิต" โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงสมรรถนะสูงสุดของ"ระบบการผลิต" ออกมา เพื่อให้ได้เอาท์พุท(Output)สูงสุดด้วยอินพุตที่ต่ำสุด(input)
เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนเราบริการให้คำปรึกษาในเชิงปฏิบัติที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนแรงงานแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการลดชั่วโมงแรงงาน การปรับปรุงงานฝ่ายสนับสนุน (Indirect function) ให้มีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการจัดซื้อ การปรับปรุงYieldของวัตถุดิบ สินค้าคงคลังและการลด Lead Time เป็นต้น
การควบคุมคุณภาพสร้างโครงการที่อิงจาก QC story และแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในบริษัท สร้างกิจกรรมการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องโดยมุ่งเน้นดูที่ Genba (หน้างานจริง) Genbutsu (ชิ้นงานจริง) Genjitsu (ข้อเท็จจริง) ตามหลักการและทฤษฎี