“วิธีการผลิตแบบ Lean และ TPS (8)”
การผลิตแบบล็อต / การผลิตแบบผสม (Lot Production / Mixed Production)
บทความฉบับที่ 8 "รูปแบบการผลิต" ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของแนวคิดว่า “เหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้ KANBAN”
◾️รูปแบบการผลิต
รูปแบบการผลิตหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิธีการผลิต (Production method) แบ่งออกเป็นการผลิตแบบล็อตที่ทำการผลิตชิ้นงานประเภทเดียวกันเป็นจำนวนมากก่อนปล่อยไปยังกระบวนการถัดไป และการผลิตแบบผสมที่ทำการผลิตชิ้นงานที่มีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มักใช้วิธีการผลิตแบบล็อต ส่วนการประกอบรถยนต์มักใช้วิธีการผลิตแบบผสม
เหตุใดการประกอบรถยนต์จึงไม่ใช้วิธีการผลิตแบบล็อต? เนื่องจากการประกอบรถยนต์จำเป็นต้องใช้ไลน์การประกอบที่ยาวมาก หากทำการป้อนชิ้นส่วนหลายล็อตเข้าไปในไลน์เดียวกันแล้วจะก่อให้เกิดความแตกต่างทางด้านเวลาที่ใช้ในการประกอบระหว่างรถยนต์รุ่นที่ทำได้ง่ายและรุ่นที่ต้องใช้เวลา
นาน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะลดความแตกต่างดังกล่าวลงได้ อีกทั้งการประกอบรถยนต์ไม่สามารถติดตั้งไลน์แยกตามประเภทของรถยนต์ได้เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่ายนั่นเอง
◾️การผลิตแบบผสมเมื่อพิจารณาจากการผลิตและการป้อนชิ้นส่วน
แม้ว่าจะสามารถเลือกใช้วิธีการผลิตแบบผสมในกระบวนการประกอบได้ก็จริง แต่ในความเป็นจริงแล้วมักไม่ได้ใช้กับการผลิตชิ้นส่วนสักเท่าไหร่ เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนนั้นจำเป็นต้องได้รับการติดตั้งแม่พิมพ์หรือ Jig ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการเตรียมการค่อนข้างนาน จึงมักเลือกใช้วิธีการผลิตแบบล็อตแทน จากสิ่งนี้ทำให้ขนาดของล็อตการผลิตชิ้นส่วนและล็อตการป้อนชิ้นส่วนไปยังกระบวนการประกอบมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก หากเป็นชิ้นส่วนที่สามารถผลิตได้ง่ายจะมีระยะเวลาการผลิต (Cycle time) สั้น จึงทำให้ขนาดของล็อตการผลิตมีแนวโน้มที่จะใหญ่มากยิ่งขึ้น หากใช้ KANBAN แล้วจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการวางแผนการผลิตอันเกิดจากการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดของล็อตแตกต่างกันได้ ด้วยเหตุนี้ในบทความฉบับหน้าจึงอยากขออธิบายเกี่ยวกับ KANBAN ให้ผู้อ่านได้ทราบกัน
<การประชุมเพื่อให้คำปรึกษาผ่านทาง Web (ไม่มีค่าใช้จ่าย)>
คุณ Terada ที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ "วิธีการผลิตแบบ Lean และ TPS" จะเข้ารับฟังปัญหา ของผู้เข้าร่วมและให้คำแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
หากท่านต้องการสมัครเข้าร่วม กรุณากรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มด้านล่าง
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา