บทความในครั้งนี้ เป็น "วิธีการผลิตแบบดึง" ที่จะช่วยลดความสูญเปล่าจากการผลิตที่มากเกินไป
วิธีการผลิตแบบดึงหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Pull system นี้ จะเริ่มทำการผลิตได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้วัตถุดิบหรือมีการดึงชิ้นงานแล้วเท่านั้น ซึ่งหากเป็นในทางตรงข้ามกันเราจะเรียกว่าวิธีการผลิตแบบผลักแทน
ใท่านจะมีวิธีการควบคุมการผลิตอย่างไรหากผลิตภัณฑ์ต้องผ่าน กระบวนการในโรงงานที่ 1, 2 และ 3 บางท่านอาจมองว่าฝ่ายวางแผนการ ผลิตจะเป็นคนวางแผนการผลิตแบบหนึ่งให้กับโรงงานที่ 1, แผนการ ผลิตอีกแบบหนึ่งให้กับโรงงานที่ 2 และแผนการผลิตอีกแบบหนึ่งให้กับ โรงงานที่ 3 เป็นแน่ ซึ่งเราเรียกวิธีการนี้ว่าเป็นการผลิตแบบผลัก (Push system) ซึ่งมักออกมาในรูปแบบของการใช้ MRP ทั่วไป
ในทางกลับกันวิธีการผลิตแบบดึง (Pull system) นั้น แผนการผลิต จะออกมาจากโรงงานที่ 3 ซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งโรงงานที่ 3 จะเป็นผู้ดึง (Pull) เฉพาะชิ้นงานที่จำเป็นต่อการผลิตจากโรงงานที่ 2 อีกทั้งโรงงานที่ 2 จะเริ่มทำการผลิตได้ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณว่ามี ชิ้นงานถูกดึงออกไปแล้วเท่านั้น และจะทำการดึงเฉพาะวัตถุดิบที่จำเป็นต่อ การผลิตมาจากโรงงานที่ 1 ในขณะเดียวกันโรงงานที่ 1 จะเริ่มทำการ ผลิตได้ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณว่ามีชิ้นงานถูกดึงออกไปแล้วเท่านั้นด้วย เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นวิธีการผลิตแบบดึงนั่นเอง
เามารถควบคุมชิ้นงานระหว่างกระบวนการได้ ซึ่งจะสามารถลดความสูญเปล่าในการผลิตที่มากเกินไปได้นั่นเอง ทั้งนี้การจะทำการผลิตแบบดึง ให้ได้นั้น จำเป็นต้องใช้กลไกในการส่งสัญญาณ อาทิ KANBAN ฯลฯ ซึ่ง จะขออธิบายเกี่ยวกับ KANBAN ในโอกาสถัดไป
<การประชุมเพื่อให้คำปรึกษาผ่านทาง Web (ไม่มีค่าใช้จ่าย)>
คุณ Terada ที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ "วิธีการผลิตแบบ Lean และ TPS" จะเข้ารับฟังปัญหา ของผู้เข้าร่วมและให้คำแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
หากท่านต้องการสมัครเข้าร่วม กรุณากรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มด้านล่าง
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา