ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีต้นแบบมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์
คุณเคยได้ยินคำว่า "วิธีการผลิตแบบ Lean (Lean Manufacturing)" หรือ "วิธีการผลิตแบบโตโยต้า (TPS: Toyota Production System)" มาก่อนหรือไม่ ? ทั้ง 2 วิธีล้วนเป็นวิธีการที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ แต่สองวิธีนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
TPS เป็นรูปแบบการผลิตที่บริษัทโตโยต้าใช้เวลาค้นหามาเป็นเวลานานจนได้ข้อสรุปเมื่อปี 1970 ก่อนที่จะมีการเผยแพร่ออกสู่ภายนอก ในขณะเดียวกันวิธีการผลิตแบบ Lean เกิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิดและวิธีการต่างๆซึ่งส่วนใหญ่นั้นได้มาจาก TPS โดยเป็นผลการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ทำกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980
เป้าหมายของระบบเหล่านี้ คือ การสร้างโรงงานที่ปราศจากความสูญเปล่า รวมทั้งมีการทำงานและสินค้าคงคลังน้อย อย่างไรก็ตามวิธีการผลิตแบบ TPS และ Lean ยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของแนวทางที่จะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว TPS เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากความพยายามอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานในการลดความสูญเปล่าจากการทำงานและเวลาที่สูญเสียไประหว่างกระบวนการ จนในที่สุดก็สามารถสร้างโรงงานที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงได้ เป็นเหตุให้การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกลายเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นภายในบริษัท ในขณะที่วิธีการผลิตแบบ Lean นั้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการปลูกฝังวัฒนธรรมด้าน "การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" และลดเวลาที่สูญเสียไประหว่างกระบวนการเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามแนวทางของ TPS นั่นเอง ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการเลือกใช้ TPS ในต่างประเทศแล้ว จึงควรตระหนักถึงแนวทางดังกล่าวไว้ด้วยจะเป็นการดี
ในกรณีที่เลือกใช้วิธีการผลิตแบบ Lean นั้น เราจำเป็นต้องทราบถึง VSM (Value Stream Mapping) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการลดเวลาการทำงาน
※JMAC ใช้ Model และ Framework ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในฐานการผลิต
JMACประเทศไทยมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการให้คำปรึกษา
Office
Tel: +66(0)2-168-3037
Katsuta
Email: hiroaki_katsuta@jmac.co.jp
Ms.Suriyawadee V.
Tel: +66 (0)2-168-3037
Email: jmac_info@jmac.co.th