PRODUCTS

การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของโรงงาน

View More
เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน เราสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านต้นทุนการปรับปรุงคุณภาพ การปรับปรุงการจัดการโดยรวมที่ดีที่สุดและการส่งเสริม 5S โดยเรายังดำเนินการวินิจฉัยอย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน

เราบริการให้คำปรึกษาในเชิงปฏิบัติที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการลดต้นทุนแรงงานแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการลดชั่วโมงแรงงาน การปรับปรุงงานฝ่ายสนับสนุน (Indirect function) ให้มีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการจัดซื้อ การปรับปรุงYieldของวัตถุดิบ สินค้าคงคลังและการลด Lead Time เป็นต้น

การควบคุมคุณภาพ

สร้างโครงการที่อิงจาก QC story และแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในบริษัท สร้างกิจกรรมการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องโดยมุ่งเน้นดูที่ Genba (หน้างานจริง) Genbutsu (ชิ้นงานจริง) Genjitsu (ข้อเท็จจริง) ตามหลักการและทฤษฎี

TP management

การสนับสนุนแบบองค์รวมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ จากกรอบการทำงาน (Framework) 3 ระดับ ได้แก่ "การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์”, "การแตกย่อยเป้าหมาย, การเลือกมาตรการ" และ "การจัดการเพื่อส่งเสริมกิจกรรม”

5ส

แก้ไขปัญหาการทำงานผ่านกิจกรรม 5 ส โดยสามารถรับรู้ด้วยตนเองถึงผลสัมฤทธิ์ เช่น ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การยกระดับความสามารถหน้างานด้วยตนเอง

การวินิจฉัยการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Diagnosis)

ระบุปัญหาด้านการจัดการ แจงแต่ละประเด็นปัญหาของหน้างาน ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของบริษัทและชี้แจงทิศทางของการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของฐานการผลิต รวมถึงระบุวิธีการอย่างชัดเจน

การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์

View More
เราให้คำปรึกษาในการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร การเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร และการปรับการบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุการผลิตแบบลีน(Lean) รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์ IOT เพื่อสามารถบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้

TPM+ Smart Maintenance

TPM (Total Productive Maintenance) เป็นวิธีการจัดการเพื่อสร้างระบบและโครงสร้างสำหรับดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการไคเซ็นงาน-ไคเซ็นเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างโครงสร้างที่สามารถรักษาผลกำไรของธุรกิจ การผลิตที่ยั่งยืน(สร้างโครงสร้างที่ทำกำไร) นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีค.ศ.1971 ก็ได้รับผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในพื้นที่ประมาณ 3,000 แห่งในญี่ปุ่นและทั่วโลก TPM สร้าง "ระบบการผลิต" โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงสมรรถนะสูงสุดของ"ระบบการผลิต" ออกมา เพื่อให้ได้เอาท์พุท(Output)สูงสุดด้วยอินพุตที่ต่ำสุด(input)

การวินิจฉัย TPM

ในการวินิจฉัย TPM จะแสดงปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิตจาก “สถานการณ์กิจกรรมในหน้างาน” “การตั้งค่าดัชนีชี้วัดหรือสภาวะการบริหารจัดการ” ออกมาให้เห็นชัดเจน และระบุแนวทางของการไคเซ็น

การปฏิรูประบบงานบุคคล

View More
หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย คือ ต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนอายุงานที่เพิ่มขึ้นและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น เราให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนระบบตามแนวคิดของรูปแบบองค์กร ทั้งระบบการให้เกรด ระบบการประเมินผล รวมถึงช่วยทบทวนการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร

ช่วยเหลือในการบูรณะใหม่

ระบบงานบุคคลเป็นกลไกพื้นฐานเพื่อให้เกิดสภาพที่ควรจะเป็นของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรวมถึงพัฒนาทักษะของพนักงาน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ผลสัมฤทธิ์ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งกำหนดธุรกิจหรือวิธีการจัดการโดยอ้างอิงจากกลยุทธ์ที่กำหนด กำหนดบทบาทของพนักงานแต่ละคนซึ่งถูกกำหนดเป็นรูปธรรมในกรอบของระบบการให้เกรด ระบบตำแหน่งและระบบประเมินบุคลากร พร้อมทั้งมีการสะท้อนการพัฒนาขีดความสามารถ ผลตอบแทน ฯลฯ เข้าไปในระบบด้วย

การวินิจฉัยระบบงานบุคคล

ใน “การวินิจฉัยระบบงานบุคคล” จะรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์บุคคลากรที่เกี่ยวข้องและคีย์แมน วิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นรายงานปัญหาและแนวทางสำหรับบริษัท ด้วยคำแนะนำที่ไม่มีความเอนเอียง จะทำให้สามารถแบ่งปันการรับรู้ปัญหาภายในบริษัท จัดลำดับความสำคัญและสร้างรากฐานของความเห็นพ้องต้องกันสำหรับการดำเนินการโครงการ

การพัฒนาโครงการ

View More
การดำเนินกิจกรรมทั่วทุกหน่วยงาน ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการและพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา ด้วยการทำให้งานสามารถมองเห็นได้(Visualization) มีการสื่อสารแบบ Waigaya และนวัตกรรมการบริหารจัดการ

การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมและการปฏิรูปการทำงาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทญี่ปุ่นหลังจากที่สั่งสมประสบการณ์มามากมาย พนักงานคนไทยรุ่นแรกก็เริ่มจะถึงเวลาเกษียณ รวมถึงมีแรงกดดันตลอดเวลาเกี่ยวกับการลดจำนวนคนญี่ปุ่นที่มาประจำในท้องถิ่น สามารถกล่าวได้ว่าการผลักดันให้เป็น localization เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วน JMACสนับสนุนให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรไม่เพียงแต่จะปรับเปลี่ยนทีมในองค์กรเท่านั้น แต่ในท้ายที่สุดจะทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงกลไกการทำงานด้วย

การวินิจฉัยความสามารถองค์กร-ทีมงาน

สำหรับ "การวินิจฉัยความสามารถองค์กรและทีมงาน" จะแจกแจงชัดเจนถึงประเด็นปัญหาของสภาพปัจจุบันและสภาวะขององค์กรและทีมงาน ของหน่วยงาน แผนกและทั้งบริษัท จากมุมมองสี่มิติ ได้แก่ "แรงจูงใจ", "การสื่อสาร", "การบริหารจัดการ (ประสิทธิผลขององค์กร)" และ "ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินกิจกรรม"

การอบรม-training

View More
การประเมินทักษะความสามารถ การเลื่อนตำแหน่ง การพัฒนาบุคลากร โดยมาตรการองค์ประกอบ 3 อย่าง (Trinity) โดยเฉพาะการเพิ่มความสำคัญของการพัฒนาผู้จัดการรุ่นถัดไปและตำแหน่งระดับกลาง ทาง JMAC มีบริการให้คำปรึกษาแบบครบวงจรที่เหมาะกับลูกค้า

การฝึกอบรมสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละระดับ

JMAC เสนอโปรแกรมการฝึกอบรมที่หลากหลายสำหรับบุคลากร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง เจ้าหน้าที่และพนักงานฝ่ายผลิต โดยมีเนื้อหาตั้งแต่ด้านการจัดการไปจนถึงทักษะที่จำเป็นในหน้างาน หลังจากแชร์ประเด็นปัญหาที่กำลังเผชิญในแต่ละประเภทงาน-ธุรกิจ หรือจากตัวผู้ที่จะเข้ารับการอบรม โปรแกรมการฝึกอบรมจะได้รับการออกแบบและปรับแต่งตามความต้องการที่แท้จริง

P-Course (หลักสูตรฝึกอบรมวิศวกรรมอุตสาหการ)

สำหรับ P-Course ที่ปรึกษาของ JMAC จะแนะนำพนักงานจากบริษัทของท่านเพื่อระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน โดยใช้หน้างานการผลิตและสายการผลิตที่กำลังมีการผลิตอยู่จริงเป็นสื่อการสอน คำแนะนำและการสนับสนุนของที่ปรึกษาJMAC นั้น ไม่ใช่แค่การสอนความรู้ IE เท่านั้น แต่ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมและความรู้ด้านการให้คำปรึกษา ประกอบกับการใช้ไลน์การผลิตของลูกค้าเป็นสื่อการสอน ทำให้ค้นพบสื่อการสอนที่ยังสดใหม่และจุดสำคัญของการไคเซ็น ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ